พระพุทธเจ้าหลวง

พระพุทธเจ้าหลวง

p1

p1

p1

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระภรรยาเจ้าทั้งสิ้น ๙ พระองค์

p2

p2
ชั้นลูกหลวง ซึ่งหมายถึง ทรงเป็นพระภรรยาเจ้าชั้นพระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ ๕ พระองค์ ได้แก่
•พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทักษิณชา นราธิราชบุตรี
•สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี
•สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี
•สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
•สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

p3

p3

p3

ทรงเป็นพระภรรยาเจ้า ชั้นหลานหลวง ซึ่งหมายถึง ทรงเป็นพระราชนัดดาของพระมหากษัตริย์ อีก ๓ พระองค์ ได้แก่

•พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค กรมขุนอรรควรราชกัลยา
•พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์
•พระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา

p4

p4

p4

นอกจากนี้ ยังทรงมีพระภรรยาเจ้าที่ทรงเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าแผ่นดินเมืองเชียงใหม่อีก ๑ พระองค์ ได้แก่
•พระราชชายา เจ้าดารารัศมี





เจ้าจอมมารดาคือนางสามัญชนที่ถวายตัวรับใช้ที่มีพระโอรสพระธิดา



เจ้าจอมคือนางสามัญชนที่ถวายตัวรับใช้ที่ไม่มีพระโอรสพระธิดา





1.พระบรมราชินีนาถ

โดยในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น พระฐานันดรศักดิ์ของพระภรรยาเจ้าสามารถแบ่งออกได้ ดังนี้


พระบรมราชินีนาถ

รูป พระบรมราชินีนาถ

รูป พระบรมราชินีนาถ

P1.2

๑.สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง พระนามเดิม พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี (รัชกาลที่ ๕ ทรงออกพระนามเรียกโดยลำลองว่า "แม่เล็ก") พระชนนีในรัชกาลที่6และ7 “เป็นที่รู้กันในหมู่ชาววังว่าพระองค์ทรงหึงห่วงพระสวามีมาก เคยทรงสั่งทำลายพระรูปที่ร.5 ฉายกับภรรยาเจ้าองค์อื่นและเจ้าจอม ทรงแต่งดำตลอดพระชนย์ชีพเมื่อ ร.5 สวรรคตและไม่พอพระทัยถ้าเห็นท่านอื่นแต่งดำเช่นท่าน ตอนประชวรหนักทรงก้มกราบเท้าพระสมเด็จพระศรีสวรินทิราและพระนางสุขุมมาลเพื่อขออภัยกับสิ่งที่ท่านทรงทำไว้กับพี่นางทั้ง2” มีพระราชโอรส-ธิดา ทั้งหมด ๘ พระองค์ และตกพระครรภ์อีก หลายองค์ ได้แก่



•สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย

•พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

•สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพชรุตม์ธำรง

•สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ

•สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์

•สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ

•สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก

•พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว



P1.3

P1.3

2.พระบรมราชเทวี

พระบรมราชเทวี

2.พระบรมราชเทวี

2.พระบรมราชเทวี

P2.2

๒.สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี หรือที่รู้จักกันในนาม พระนางเรือล่ม (รัชกาลที่ ๕ ทรงออกพระนามเรียกโดยลำลองว่า "แม่ใหญ่")

“ทรงมีพระอุปนิสัยแข็งแกร่ง เด็ดขาด แต่ด้วยพระสิริโฉม รวมทั้งพระอัธยาศัยที่สุภาพ เรียบร้อย และสงบเสงี่ยม ทำให้พระองค์เป็นที่นับถือในพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชบริพาร และทรงเป็นที่สนิทเสน่หาในพระราชสวามียิ่งนัก”

พระนางเธอ พระองค์เจ้าสุนันทากุมารีรัตน์สิ้นพระชนม์ด้วยอุบัติเหตุเรือพระประเทียบล่มเมื่อวันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2423 ทรงมีพระธิดา1องค์กับในพระครรภ์1องค์

•สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์ (สิ้นพระชนม์พร้อมพระมารดา)

P2.3

P2.3

3.พระบรมราชเทวี



พระบรมราชเทวี

รูปพระบรมราชเทวี

รูปพระบรมราชเทวี

เนื้อหาพระบรมราชเทวี

๓.สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า(รัชกาลที่ ๕ ทรงออกพระนามเรียกโดยลำลองว่า "แม่กลาง") ทรงเป็นพระอัยยิกา (ย่า) รัชกาลที่ 8และ 9 เมื่อพระสถานะพระราชินีของพระองค์ท่านต้องเปลี่ยนไปเพราะการสิ้นพระชนม์ของพระโอรสเจ้าฟ้าวชิรุณหิศพระองค์ท่านต้องถูกลดพระฐานะลง พระขนิษฐาซึ่งเป็นพระมารดาขององค์รัชทายาทพระองค์ใหม่ขึ้นเป็นราชินีแทนท่านก็ทรงทำพระทัยได้ ไม่มีจิตริษยาในโชควาสนาของพระขนิษฐา เป็นพระอัครมเหสีที่ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์มีแต่ความทุกข์โศกที่เกิดจากการสูญเสีย มีพระราชโอรส-ธิดาทั้งหมด ๘ พระองค์



•สมเด็จพระบรมราชปิตุลาธิบดี เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ



•สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศริยาลงกรณ์ สิ้นทรงเยาว์



•สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าวิจิตรจิรประภา สิ้นทรงเยาว์



•สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย



•สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์



•สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิราภรณ์โสภณ สิ้นทรงเยาว์



•สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก



•สมเด็จเจ้าฟ้าหญิง สิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษาได้ ๔ วัน



ลูกพระบรมราชเทวี

ลูกพระบรมราชเทวี

เพิ่มพระบรมราชเทวี

แม้สมเด็จพระพันวัสสาจะทรงพระอิศริยยศสูงส่ง แต่ก็ทรงประสบกับความทุกข์ด้วยพระราชโอรสธิดาสิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ได้แก่ เจ้าฟ้าอิศริยาลงกรณ์ สิ้นพระชนม์ ขณะมีพระชันษาเพียง ๒๑ วัน ในปี พ.ศ. ๒๔๒๒ และปี พ.ศ.๒๔๒๔ ทรงสูญเสีย เจ้าฟ้าหญิงวิจิตรจิรประภา พระชันษาเพียง ๔ เดือน
ต่อมาใน พ.ศ.๒๔๓๖ เจ้าฟ้าหญิง (ยังไม่มีพระนาม) ซึ่งประสูติได้เพียง ๓ วัน สิ้นพระชนม์ จากนั้นก็มีเหตุให้ทรงโทมนัสแสนสาหัสอีกหลายครา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสูญเสีย เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ซึ่งขณะนั้นดำรงพระยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จสวรรคต อย่างกะทันหันด้วยโรคไข้รากสาดน้อย ในปี พ.ศ. ๒๔๓๗
เล่ากันว่าสมเด็จพระพันวัสสาทรงล้มทั้งยืนในทันที สิ้นพระสติสมประดี ครั้นรู้สึกพระองค์ก็ทรงพระกันแสงอย่างรุนแรง ทรงใช้พระกรข้อนพระอุระด้วยปริเทวนาการดังจะสวรรคตตามไป ไม่ทรงฟังคำปลอบประโลมใดๆ ทรงโศกเศร้าจนไม่เสด็จกลับตำหนัก กั้นพระฉากบรรทมในที่ประดิษฐานพระบรมศพพระราชโอรส ไม่เสวยพระกระยาหาร จนทรงพระประชวรในที่สุด
เวลาผ่านไป พระสุขภาพเริ่มดีขึ้น เจ้าฟ้าหญิงศิราภรณ์โสภณ พระชันษา ๑๐ ปี ก็สิ้นพระชนม์ พระพันวัสสาทรงเสียพระทัยถึงกับประชวรอีกครั้ง แพทย์ต้องกราบบังคมทูลขอให้เสด็จไปประทับรักษาพระองค์ที่ชายทะเล แต่ยังไม่ทันได้เสด็จไป เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ ก็สิ้นพระชนม์ตามไปอีก ในปี พ.ศ.๒๔๔๒
สมเด็จพระพันวัสสาทรงพระประชวรหนักถึงทรงพระดำเนินไม่ได้ ความสูญเสียที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า ทำให้ทรงโศกสลดและแทบจะทรงหมดกำลังพระทัย พระราชพิธีพระราชทางเพลิงศพจัดขึ้นต่อเนื่องกัน ณ พระเมรุมณฑป วัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า) พระพันวัสสาทรงโศกเศร้าเกินจะห้ามพระทัย ไม่ได้เสด็จไปพระราชทานเพลิงทั้งสามพระองค์
ในวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสู่สวรรคาลัย สมเด็จพระพันวัสสาทรงพระประชวรสลบไปทันที เล่ากันมาว่าทรงอธิษฐานต่อหน้าพระพุทธรูปว่า ขอให้ลืม ลืมให้หมด อย่าให้มีความจำอะไรเลย จำอะไรขึ้นมา ก็ล้วนแต่ความทุกข์ทั้งนั้น
ในพ.ศ. ๒๔๘๑ เจ้าพนักงานตำรวจเชิญ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ (ขณะนั้นเป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร) ไปคุมขังไว้ที่สถานีตำรวจพระราชวัง ด้วยเหตุผลทางการเมือง (หลังมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว) พระพันวัสสาทรงต่อรองรับประกันด้วยพระราชทรัพย์ทั้งหมดเพื่อแลกกับอิสรภาพ ของพระโอรส เมื่อไม่สำเร็จทรงรับสั่งว่า ทำไมรังแกกันอย่างนี้ มันจะเอาชีวิตฉัน เห็นได้เทียวว่ารังแกฉัน ลูกตายไม่น้อยใจช้ำใจเลย เพราะมีเรื่องหักได้ว่าเป็นธรรมดาโลก ครั้งนี้ ทุกข์ที่สุดจะทุกข์แล้ว

ภาย หลัง สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาการแพทย์แล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศไทยพร้อม สมเด็จพระราชชนนี (สมเด็จย่า) พระธิดาพระโอรสทั้ง ๓ (พระพี่นางฯ รัชกาลที่ ๘ รัชกาลที่ ๙)
ความสุขในวังสระปทุมหมดไปอย่างรวดเร็วเมื่อ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงประชวร พระอาการทรุดหนักสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เสด็จฯมาทอดพระเนตรพระอาการ ด้วยพระพักตร์สงบแม้จะตกพระทัยมาก ประทับอยู่ใกล้พระแท่น สมเด็จพระบรมราชชนกพระเนตรปรอย ลืมพระเนตรขึ้นแล้วเสด็จสวรรคตในทันที พระพันวัสสาทรงคุกพระชนฆ์ลง ยื่นพระหัตถ์ไปทรงปิดพระเนตร แล้วซบพระพักตร์ลง
ความโทมนัสแสนสาหัสที่เกิดขึ้นน่าจะจบลงเพียงแค่นั้น เพราะพระพันวัสสาทรงปีติปลาบปลื้มกับพระนัดดาทั้งสาม พระสุขภาพที่ทรุดโทรมก่อนหน้านี้ค่อยดีขึ้น ด้วย พระราชหฤทัยที่ชื่นบาน แต่.......

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอนันทมหิดลฯ เสด็จสวรรคต ในวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๙ ไม่มีผู้ใดกล้ากราบบังคมทูล ทรงรำลึกเสมอว่า "ทรงมีหลานชาย ๒ คน"

วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๙ สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เสด็จ สวรรคต ณ วังสระปทุม ด้วยอาการพระทัยวาย รวมพระชนมายุ ๙๓ พรรษา ๓ เดือน ๗ วัน จากรัชกาลที่ ๔ ถึง รัชกาลที่ ๙ รวม ๖ แผ่นดิน ทรงผ่านทั้งความสุข ความทุกข์โศกใหญ่หลวง แต่ก็ทรงศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างถ่องแท้จนบังเกิดพระขันติธรรม นำให้เข้าพระทัยในธรรมดาแห่งชีวิต

นี่แหละ ความทุกข์ของผู้หญิงคนหนึ่ง ในฐานะมารดามิใช่ราชินี

4.พระอัครราชเทวี

พระอัครราชเทวี















รูปพระอัครราชเทวี

รูปพระอัครราชเทวี

เนื้อหาพระอัครราชเทวี

มีอยู่เพียง พระองค์เดียว คือ

๔.สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี มีพระนามเดิมว่า " พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงสุขุมาลมารศรี " ในรัชกาลที่ 5 หรือที่ถวายเรียกกันว่า “เสด็จพระนาง” หลักฐานแห่งความ โปรดรักใคร่ไว้วางพระราชหฤทัยอย่างยิ่ง นั้น มีปรากฏอยู่เนือง ๆ เช่น พระมเหสีพระองค์นี้ น่าจะทรงเป็น "เมีย" คนแรกที่ทรงพระราชนิพนธ์โคลงพระราชทาน เมื่อเกิดเหตุการณ์วิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 ทรงตรอมพระราชหฤทัยมาก ถึงกับมีพระราชประสงค์จะเสด็จสวรรคต ได้ทรงพระราชนิพนธ์ความในพระราชหฤทัย ส่งไปพระราชทานเจ้านายเพียง 2 พระองค์เท่านั้น คือ พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี และ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ แต่ก็แปลกที่ท่านไม่ได้แต่งตั้งเป็นพระมเหสีตลอดรัชากาลที่5 จนเอ่ยปากน้อยใจกับโอรสว่า “แม่นี้น้อยบุญนัก” มีพระราชโอรส-ธิดา รวม ๒ พระองค์ ได้แก่

•สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ “ทูลกระหม่อมหญิงใหญ่” พระรูปโฉมงดงามยิ่งนัก

•สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ “ทูลกระหม่อมบริพัตร” “พระบิดาแห่งเพลงไทยเดิม"

ลูกพระอัครราชเทวี

ลูกพระอัครราชเทวี

5.พระภรรยาเจ้าชั้นลูกหลวง(มิได้สถาปนา(มเหสี)


พระภรรยาเจ้าชั้นลูกหลวง(มิได้สถาปนา(มเหสี)

รูปพระภรรยาเจ้าชั้นลูกหลวง(มิได้สถาปนา(มเหสี)

รูปพระภรรยาเจ้าชั้นลูกหลวง(มิได้สถาปนา(มเหสี)

เนื้อหาพระภรรยาเจ้าชั้นลูกหลวง(มิได้สถาปนา(มเหสี))

๕.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทักษิณชา นราธิราชบุตรี ทรงเป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาจันทร์ และเป็นพระภรรยาเจ้าพระองค์แรกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติพระราชบุตร ทรงมีพระชันษาแก่กว่า เป็นพระภรรยาเจ้าระดับ "ลูกหลวง" พระองค์แรกในรัชกาล เมื่อ พ.ศ. 2413 ทรงประสูติพระราชบุตรเป็นพระราชโอรส 13 มิถุนายน พ.ศ. 2415 เป็นพระราชบุตรพระองค์ที่ 5

สมเด็จเจ้าฟ้าชายที่ประสูติแต่ พระองค์เจ้าทักษิณชา ทรงเป็นเจ้าฟ้าลูกหลวงเอก พระองค์แรกในรัชกาล ทรงสิ้นพระชนม์ในวันประสูติ “พระองค์เจ้าทักษิณชาทรงเสียพระทัยมากจนสูญเสียพระจริต ไม่สามารถรับราชการต่อไปได้ ทรงอยู่ในสภาพผู้ป่วยตลอดพระชนม์ชีพ”

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าโปรดให้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุขสวัสดี กรมหลวงอดิศรอุดมเดช พระอนุชา ทรงรับพระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าทักษิณชา ไปบริบาล จนสิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2449 ที่ตำหนักพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเกษมศรีศุภโยค กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ ทรงอยู่ในสภาพผู้ป่วยนานถึง 34 ปี

6.พระอรรคชายา



พระอรรคชายา


ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น มีอยู่ทั้งหมด ๓ พระองค์ ซึ่งทรงเป็นพี่น้องร่วมพระอุทรเดียวกัน ดังนี้





ภรรยาเจ้าชั้นหลานหลวงที่รับแต่งตั้งเป็นอรรคชายาและทรงเป็นพี่น้องร่วมพระอุทรเดียวกัน

รูปพระอรรคชายา

รูปพระอรรคชายา

เนื้อหาพระอรรคชายา 1

๖.พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค กรมขุนอรรควรราชกัลยา (หม่อมเจ้าบัว ลดาวัลย์) ชาววังเอ่ยพระนามว่า “พระอรรคชายาพระองค์ใหญ่” พระธิดาของพระองค์เจ้าลดาวัลย์ กับ เจ้าจอมมารดาจีน มีพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียว

•สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี หรือ “สมเด็จหญิงเล็ก”

ลูกพระอรรคชายา 1

ลูกพระอรรคชายา 1

7.พระอรรคชายา 2

พระอรรคชายา องค์ที่2



พระอรรคชายา 2

พระอรรคชายา 2

เนื้อหาพระอรรคชายา 2

๗.พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์ (หม่อมเจ้าปิ๋ว ลดาวัลย์) ชาววังเอ่ยพระนามว่า “พระอรรคชายาพระองค์กลาง” มีพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียว เช่นเดียวกัน


•สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร กรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์ หรือ สมเด็จหญิงใหญ่

ลูกพระอรรคชายา 2

ลูกพระอรรคชายา 2

“พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์ ทรงเป็นที่ โปรดปรานของสมเด็จกรมพระยาสุดารัตนราชประยูรมาก ถึงกับทรงตั้งพระทัยจะให้ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระอัครมเหสีทีเดียว
แต่ว่าหม่อมเจ้าเสาวภาคยนารีรัตนมีพระพลานามัยไม่สู้จะสมบูรณ์นัก หลังประสูติพระราชธิดาพระองค์ ๑ แล้วก็ประชวรกระเสาะกระแสะเรื่อยมา จนกระทั่งสิ้นชีพิตักษัย”
กรมพระยาสุดารัตนราชประยูรเป็นอาของพระเทพศิรินทราบรมราชินี(มารดาร.5)ทรงเรียกว่า “เสด็จย่า”

8.พระอรรคชายา องค์ที่3


พระอรรคชายา องค์ที่3

พระอรรคชายา องค์ที่3

พระอรรคชายา องค์ที่3

พระอรรคชายา องค์ที่3

๘.พระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา (หม่อมเจ้าสาย ลดาวัลย์) ชาววังเอ่ยพระนามว่า “พระอรรคชายาพระองค์เล็ก”

“ทรงปฏิบัติราชการในหน้าที่อำนวยการห้องพระเครื่องต้นของเสวยคาวหวาน เป็นที่รู้กันทั่วว่าพระองค์ทรงทำอาหารอร่อยที่สุดทรงพิถีพิถันในเรื่องเครื่องต้นที่จะตั้งถวาย ทรงรับสั่งว่า " ขอให้ลูกให้ผัวสุขสบายก็เป็นที่พอใจแล้ว " อีกทั้งทรงเป็นผู้ที่ตั้งโรงเลี้ยงเด็กขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย

มีพระราชโอรส-ธิดาทั้งหมด ๔ พระองค์

•พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร ชาววังเอ่ยพระนามว่า “สมเด็จชาย “

•สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านภาจรจำรัสศรี

•สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามาลินีนพดารา

•สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล ตรัสเรียกพระองค์ว่า "หญิงเล็กนิภา"

และชาววังเรียกพระองค์ว่า "สมเด็จหญิงน้อย ราชเลขานุการิณีในพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า ได้นำมารวมรวบเป็นหนังสือพระราชนิพนธ์ไกลบ้านในเวลาต่อมา

ลูก

ลูก

9.พระราชชายา

พระราชชายา นั้น มีอยู่เพียงพระองค์เดียว คือ

รูปพระราชชายา

รูปพระราชชายา

เนื้อหา

๙.พระราชชายา เจ้าดารารัศมี พระนามลำลองว่า "เจ้าอึ่ง"

“เจ้าหญิงแห่งราชวงศ์ฝ่ายเหนือผู้มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการรวมล้านนาเข้ากับสยาม ผู้มากด้วยพระอัจฉริยภาพ เจ้าหญิงผู้เสด็จลงมาถวายตัว สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ด้วยเหตุทางการเมือง ทรงดำรงพระองค์อย่างเรียบง่าย มิได้สนพระทัยต่อการถูกมองพระองค์ว่าเป็น "เจ้าหญิงเมืองลาว” แต่ทรงเอ่ยปาก" ใคร่ปิ๊กบ้านวันละร้อยเตื้อ " การสิ้นพระชนม์ของพระองค์เจ้าหญิงวิมลนาคนพีสีในคราวนี้นั้น พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสียพระทัยยิ่งนัก กล่าวโทษพระองค์เอง ว่า "ทรงเสียพระทัยยิ่งนัก ที่ทรงมิได้สถาปนาพระยศพระราชธิดาให้เป็น "เจ้าฟ้า" เป็นเหตุให้พระธิดาสิ้นพระชนม์" แต่สำหรับ เจ้าจอมมารดาเจ้าดารารัศมีแล้วนั้น ทรงเสียพระทัยอย่างที่สุด ทรงฉีกทำลายพระฉายาลักษณ์ที่ "พระราชสวามี" ประทับร่วมอยู่กับ "พระองค์" และ "พระราชธิดา" เสียจนหมดสิ้น มีพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียว คือ



•พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงวิมลนาคนพีสี (สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์)

ลูก

ลูก

เจ้าจอมมารดาคือ



เจ้าจอมมารดา คือ ฐานันดรศักดิ์ของพระสนมเอกกับพระสนมโทที่มิใช่สมาชิกแห่งพระราชวงศ์ แต่มีพระราชโอรสหรือพระราชธิดา สนองพระเจ้าแผ่นดินกับสมเด็จพระบวรราชเจ้าพระธิดาถวายทรงมีเจ้าจอมมารดา ๒๗พระองค์ ดังนี้

รวมเจ้าจอมมารดา

รวมเจ้าจอมมารดา

๑0.เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์แข พึ่งบุญ

๑0.เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์แข พึ่งบุญ

เนื้อหา

๑0.เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์แข พึ่งบุญ เป็นธิดาของหม่อมนก พึ่งบุญเดิมเป็นหม่อมเจ้าชายนก พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไกรสร กรมหลวงรักษ์รณเรศ (ซึ่งต้องพระราชอาญาถูกประหารชีวิต และถอดพระยศ)พระโอรส-ธิดาจึงพลอยถูกถอดยศจากเจ้าลงมาเป็นสามัญชน “ทรงเป็นเจ้าจอมพระองค์แรกในพระพุทธเจ้าหลวง” หม่อมราชวงศ์แข พึ่งบุญ รับราชการเป็นพระพี่เลี้ยงในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะมีพระชนมายุเพียง 14-15 พรรษา และดำรงพระอิสริยยศเป็น กรมขุนพินิตประชานาถ ทั้งยังเป็นพระพี่เลี้ยงผู้มีอายุมากกว่าพระองค์ จึงเป็นเหตุให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กริ้ว แต่ต่อมาทั้งท่านและพระธิดา คือ พระองค์เจ้าผ่องประไพกลับไม่ได้เป็นที่โปรดปรานเลย เล่ากันว่าการที่เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์แขไม่เป็นที่โปรดปรานแม้จะเป็นเจ้าจอมมารดาคนแรกนั้น มีสาเหตุมาจากครั้งหนึ่งพระองค์เจ้าผ่อง ขณะทรงพระเยาว์ประชวรหวัด ร๕ เสด็จเยี่ยมพระราชธิดา ตรัสถามเจ้าจอมมารดาแขถึงอาการประชวรของพระธิดาถึงสามครั้ง เจ้าจอมมารดาแขก็มิได้ทูลตอบ จึงทรงพิโรธไม่ยอมตรัสด้วยอีกต่อไป
ทรงมีพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียว
•พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าผ่องประไพ

ลูก

ลูก

๑๑.เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (เจ้าจอมมารดาแพ)



๑๑.เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (เจ้าจอมมารดาแพ)

รูป๑๑.เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (เจ้าจอมมารดาแพ)

รูป๑๑.เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (เจ้าจอมมารดาแพ)

เนื้อหา

เป็นธิดาของเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) กับ ท่านผู้หญิงอิ่ม สุรวงศ์ไวยวัฒน์ “ด้วยตัวท่านกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รักใคร่ติดพันกันเองอยู่ก่อน แล้วพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงตรัสขอมาเป็นสะใภ้หลวง พระราชทานสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งแต่ยังเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ แล้วอยู่ด้วยกันมาจนเสวยราชย์ เจ้าจอมมารดาแพนั้นนับเป็น "รักแรก" ของพระองค์ซึ่งเกิดในวัยหนุ่ม ท่ามกลางกระแสการเมืองร้อนแรงซึ่งต้องระวังพระองค์ เจ้าจอมมารดาแพก็เป็นเสมือนคู่ทุกข์คู่ยากแท้จริง ประกอบกับมีพระราชธิดาร่วมกัน และโปรดมากเพราะทรงร่วมผ่านเวลาลำบากมาด้วยกัน เจ้าจอมมารดาแพยังเป็นสตรีจากตระกูลบุนนาค นับว่าเป็นผู้ที่ผสานไมตรีเอาไว้” มีโอรสธิดา 3 พระองค์
•พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีวิไลยลักษณ์
(พระชนกทรงกล่าวว่าพระองค์เป็น"ลูกคู่ทุกข์คู่ยาก")
•พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุวพักตร์วิไลยพรรณ
•พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบัณฑวรรณวโรภาส


ลูก

ลูก

๑๒. เจ้าจอมมารดาแสง กัลยาณมิตร

๑๒ เจ้าจอมมารดาแสง กัลยาณมิตร

รูป๑๒ เจ้าจอมมารดาแสง กัลยาณมิตร

รูป๑๒ เจ้าจอมมารดาแสง กัลยาณมิตร

๑๒ เจ้าจอมมารดาแสง กัลยาณมิตร

เป็นธิดาพระยาไชยวิชิต (ช่วง กัลยาณมิตร)ผู้รักษากรุงเก่า มีราชบุตรพระองค์แรกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าที่ประสูติในพระมหาเศวตฉัตร
•พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอิศรวงศ์วรราชกุมาร (สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์)
•พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านภางค์นิพัทธพงศ์ (สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์)
•พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบีเอตริศภัทรายุวดี
•พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเจริญศรีชนมายุ

ลูก

ลูก

๑๓. เจ้าจอมมารดาสุด กุสุมลจันทร์


๑๓. เจ้าจอมมารดาสุด กุสุมลจันทร์



รูป13.๑๒ เจ้าจอมมารดาแสง กัลยาณมิตร

รูป13.๑๒ เจ้าจอมมารดาแสง กัลยาณมิตร

เนื้อหา13.๑๒ เจ้าจอมมารดาแสง กัลยาณมิตร

เป็นธิดาของพระยาสุรินทราราชเสนี (จัน สุกุมลจันทร์)เป็นพี่สาวของเจ้าจอมมารดาจันทร์ สุกุมลจันทร์ และ เจ้าจอมมารดาสาย สุกุมลจันทร์

ท่านมีพระธิดาพระองค์เดียวคือ

•พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรลักษณาวดี

ลูก

ลูก

๑๔.เจ้าจอมมารดาตลับ เกตุทัด


๑๔.เจ้าจอมมารดาตลับ เกตุทัด

รูป

รูป

เนื้อหา

เป็นธิดาคนโตของพระยาเวียงในนฤบาล (หรั่ง เกตุทัต) และขรัวยายอิ่ม เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เจ้าจอมมารดาตลับได้ถวายตัวเป็นพระสนมสิบสองพระกำนัลตามโบราณราชประเพณี

มีพระธิดาและพระโอรส 2องค์

•พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัจฉรพรรณีรัชกัญญา
•พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ "พระบิดาแห่งกฎหมายไทย "

ลูก

ลูก

๑๕ .เจ้าจอมมารดามรกฎ เพ็ญกุล


๑๕ .เจ้าจอมมารดามรกฎ เพ็ญกุล



รูป๑๕ .เจ้าจอมมารดามรกฎ เพ็ญกุล

รูป๑๕ .เจ้าจอมมารดามรกฎ เพ็ญกุล

เนื้อหา

เป็นธิดาของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) กับ ท่านผู้หญิงหุ่น เพ็ญกุล (ธิดาพระยานครอินทร์รามัญ )

มีพระโอรสและพระธิดา 2องค์

•พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ ผู้ประพันธ์บทเพลง "ลาวดวงเดือน"
•พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุฑารัตนราชกุมารี พระองค์ทรงพระนิพนธ์ "นิราศหัวหิน"

ลูก

ลูก

๑๖. .เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์ย้อย อิศรางกูร


๑๖.เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์ย้อย อิศรางกูร

รูป16.

รูป16.

เนื้อหา 16.

เป็นธิดาหม่อมเจ้าโสภณ อิศรางกูร
มีพระธิดา 1พระองค์

•พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรพินทุ์เพ็ญภาค

พระองค์เจ้าอรพินทุ์เพ็ญภาคทรงตั้งอยู่สัมมาปฏิบัติ ประพฤติพระองค์สมควรแก่ราชสกุลทุกประการและยังมีพระอัธยาศัยเผื่อแผ่กว้างขวาง ทรงเห็นประโยชน์ของสาธารณชนเป็นสำคัญ เมื่อทรงประชวรใกล้สิ้นพระชนม์ ยังได้ทรงทำพินัยกรรมยกทรัพย์ ในกองมรดกของพระองค์ ประทานให้เป็นทุนของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ถึง 50,000 บาท เพื่อเก็บผลทะนุบำรุงสาธารณชนผู้ป่วยไข้

ลูก16.

ลูก16.

๑๗.เจ้าจอมมารดาอ่วม พิศลยบุตร


๑๗.เจ้าจอมมารดาอ่วม พิศลยบุตร



รูป17

รูป17

เนื้อหา17.

เป็นธิดาของพระยาพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์ (เจ้าสัวยิ้ม) เป็นเจ้าของเรือกลไฟชื่อ "เจ้าพระยา" เดินระหว่างกรุงเทพฯ-สิงคโปร์ เพียงลำเดียวในสมัยนั้น เป็นต้นตระกูล "พิศลยบุตร" เมื่อท่านมีอายุได้ 17-18 ปี บ้านของท่านอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อกระบวนพยุหยาตราชลมารคผ่านเสด็จครั้งใด เจ้าจอมและน้องชายก็ดูหน้าต่างเพื่อชมพระบารมีเสมอ มีอยู่ครั้งหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าทรงเห็นพักตร์รูปร่างหน้าตาของเจ้าจอม จึงทรงรับมาเป็นเจ้าจอมในพระองค์ท่านก็ใด้ถวายตัวรับใช้พระเจ้าอยู่หัวตลอดมาจนกระทั่งท่านตั้งครรภ์และประสูติพระราชโอรส คือ

•พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ
เจ้าจอมมารดาอ่วมมีสุขภาพที่ไม่แข็งแรง เจ็บป่วยเรื่อยมาหลังจากประสูติพระราชโอรสและท่านถึงแก่อนิจจกรรม ทรงมีพระชันษาเพียง 3-5 ชันษา เท่านั้น
“เนื่องจากเจ้าจอมมารดาอ่วมเป็นลูกจีน พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ จึงถูกล้อว่า "ปีจอ วันจันทร์ เดือนเจ็ด ลูกเจ้า หลานเจ๊ก" ซึ่งมาจาก เกิดปีจอ วันจันทร์ เดือนเจ็ด ลูกพระจุล หลานพระจอม ตัวเป็นเจ้า ตาเป็นเจ๊ก”

ลูก17.

ลูก17.

๑๘ .เจ้าจอมมารดาแช่ม กัลยาณมิตร


๑๘ .เจ้าจอมมารดาแช่ม กัลยาณมิตร

รูป18

รูป18

เนื้อหา 18.

เป็นธิดาของพระยามหาอำมาตย์ (ชื่น กัลยาณมิตร) เมื่อท่านถึงแก่อนิจกรรม อัฐิของท่านได้บรรจุอยู่ที่เจดีย์ที่วัดกัลยาณมิตร และมีอนุสาวรีย์อยู่ที่ สุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
ทรงมีพระโอรส 1พระองค์

•พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม กรมหลวงปราจิณกิติบดี

.“พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม ทรงเป็นราชเลขาธิการในพระองค์สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวงเมื่อครั้งทรงสำเร็จราชการแทนพระองค์ ในระหว่างการเสด็จประพาสยุโรป พ.ศ. ๒๔๔๐ และได้รับแต่งตั้งให้เป็นองคมนตรีในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว”

ลูก18.

ลูก18.

๑๙.เจ้าจอมมารดาทับทิม โรจนดิศ


๑๙.เจ้าจอมมารดาทับทิม โรจนดิศ



รูป19.

รูป19.

เนื้อหา19.

เป็นธิดา พระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ โรจนดิศ) ซึ่งเป็นตาของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับขรัวยายอิ่ม ต้นตระกูล “บุญเรือง” เป็นตำแหน่งหลวงวัง “จอมมารดาทับทิมมีแววฉลาด และมีพรสวรรค์สำหรับความเป็นศิลปิน จึงให้รับราชการเป็นละครหลวง สามารถรรำได้งดงาม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ก็ทรงชุบเลี้ยงเป็นเจ้าจอม เจ้าจอมมารดาทับทิมมีอัธยาศัยดี เป็นที่ชอบแก่บุคคลโดยทั่วไป เจ้าจอมมารดาทับทิมก็มีสิ่งที่แปลกกว่าคนอื่นอยู่อย่างหนึ่ง คือ ชอบไปเที่ยวตามหัวเมือง ถ้าอยู่กับบ้านกับวังนาน ๆ คล้าย ๆ กับจะเจ็บป่วย”

•จอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช
กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช "พระบิดาแห่งกองทัพบกไทย"
•พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประเวศวรสมัย
•พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ
กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร

ลูก19

ลูก19

๒o.เจ้าจอมมารดาบัว


๒o.เจ้าจอมมารดาบัว



รูป20.

รูป20.

เนื้อหา20.

สืบสกุลมาจากชาวบ้านบางเขน
มีพระองค์เจ้าหญิง (สิ้นพระชนม์ในวันประสูติ)

๒๑.เจ้าจอมมารดาโหมด บุนนาค


๒๑.เจ้าจอมมารดาโหมด บุนนาค

รูป21

รูป21

เนื้อหา21

เป็นหลานปู่ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เมื่อมีอายุสมควรได้เข้าไปอยู่ในพระบรมมหาราชวัง โดยพำนักกับท่านเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ผู้พี่ ต่อมา ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯให้เป็นเจ้าจอม มีพระโอรสธิดา 3 พระองค์ เจ้าจอมมารดาโหมด พำนักในพระบรมมหาราชวังมาตลอดในรัชกาลที่ 5 เมื่อ สิ้นรัชกาลแล้ว จึงได้กราบบังคมทูลลาออกมาพำนักกับพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ ณ วังนางเลิ้งตลอดมา มีความสุขอยู่กับการเลี้ยงดู พระโอรส และ พระธิดา ในราชสกุล "อาภากร" และ "สุริยง"

•พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ "องค์บิดาของทหารเรือไทย" และพระองค์ก็ศึกษาและเขียนตำรายา จึงได้สมญาว่า "หมอพร"
•พระองค์เจ้าหญิงอรองค์อรรคยุพา (สิ้นพระชนม์เมื่อพระเยาว์)
•พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุริยงประยุรพันธ์ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส

ลูก21

ลูก21

๒๒.เจ้าจอมมารดาจันทร์ กุสุมลจันทร์


๒๒.เจ้าจอมมารดาจันทร์ กุสุมลจันทร์

รูป22

รูป22

เนื้อหา22.

เป็นธิดาพระยาราชสัมภารากร (เทศ)และท่านอ่ำ มีพระธิดา 1พระองค์

•พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศศิพงประไพ
พระบรมวงศานุวงศ์ 4 พระองค์ ประกอบด้วย พระองค์เจ้าศศิพงศ์ประไพ,เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์, กรมพระนครสวรรค์วรพินิต พระองค์เจ้าพิสมัยพิมลสัตย์ และพระองค์เจ้า บุรฉัตรไชยากร (เกิดปีมะเส็ง)ร่วมประทานเงินให้สภากาชาดไทย ตั้งเป็นทุนชื่อว่า “ทุน ๔ มะเส็ง” เพื่อเก็บดอกผลใช้ในการบำบัดรักษาผู้ที่ถูกสัตว์พิษกัด ต่อมาสร้างตึกขึ้นภายในบริเวณสถานเสาวภาสำหรับใช้เลี้ยงสัตว์พิษชนิดต่าง ๆ นามว่า “ตึก ๔ มะเสง”

ลูก22

ลูก22

๒๓. เจ้าจอมมารดาสาย กุสุมลจันทร์


๒๓. เจ้าจอมมารดาสาย กุสุมลจันทร์

รูป23.

รูป23.

เนื้อหา23

ธิดาพระยาสุรินทรราชเสนี (จั่น) และท่านกลิ่น
มีพระองค์เจ้าหญิง สิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษาได้ ๑ วัน

๒๔. .เจ้าจอมมารดาเรือน สุนทรศารทูล


๒๔.เจ้าจอมมารดาเรือน สุนทรศารทูล

รูป24

รูป24

เนื้อหา24

ธิดาพระยาสุนทรบุรี ศรีพิชัยสงคราม(สว่าง) และคุณหญิงตลับ
มีพระธิดา 1พระองค์

•พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิสมัยพิมลสัตย์ พระองค์ท่านโปรดประทับในพระบรมมหาราชวัง จะเสด็จไปประทับในสวนสุนันทาก็เป็นครั้งคราว เมื่อมีพระประสงค์จะไปเยี่ยมเยียนพระเชษฐภคินีหรือพระชนิษฐภคินีที่ประทับอยู่ในสวนสุนันทาเท่านั้น

ลูก24

ลูก24

๒๕.เจ้าจอมมารดาวาด กัลยาณมิตร


๒๕.เจ้าจอมมารดาวาด กัลยาณมิตร

รูป25

รูป25

เนื้อหา25

เป็นธิดาคนที่ 3 ของนายเสถียรรักษา (เที่ยง) คหบดีเชื้อสายรามัญ กับพระนมปริก (ธิดาพระยาอิศรานุภาพ (ขุนเณรน้อย) กับนางขำ) พระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชโอรสพระองค์เดียว

•พลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน
ทรงมีส่วนสำคัญยิ่งในการพัฒนาสยามประเทศให้เจริญก้าวหน้าในหลายๆด้าน จนได้รับการยกย่องเป็น “องค์บิดาแห่งการรถไฟไทย , องค์บิดาแห่งทหารสื่อสาร,
องค์บิดาแห่งทหารช่าง,องค์บิดาแห่งกิจการวิทยุกระจายเสียงไทย และองค์บิดาแห่งการโรงแรม”

ลูก25

ลูก25

๒๖.เจ้าจอมมารดาเจ้าทิพเกษร ณ เชียงใหม่


๒๖.เจ้าจอมมารดาเจ้าทิพเกษร ณ เชียงใหม่

รูป26

รูป26

เนื้อหา26

ทรงเป็นเจ้านายฝ่ายเหนือ "ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน)" ทรงเข้าศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณีอยู่ในสำนักของ "เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (เจ้าจอมมารดาแพ บุนนาค)"ผู้เป็นพระสนมเอกผู้ใหญ่ หัวหน้าพระสนมทั้งปวง และโปรดเกล้าฯ ให้ "เจ้าพระยานรรัตนราชมานิต (โต มานิตยกุล)" เป็นผู้อภิบาลดูแล มีพระราชโอรสพระองค์เดียว

•พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิลกนพรัฐ กรมหมื่นสรรควิสัยนรบดี
พระมารดาก็ได้ถึงแก่พิราลัย จึงทรงอยู่ในความดูแลของ พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ซึ่งเป็นพระญาติฝ่ายพระมารดา
•ทรงเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับปริญญาทางเศรษฐศาสตร์
•ทรงเป็นคนไทยคนแรกที่ได้ทำการศึกษาวิจัยสถานภาพและปัญหาเศรษฐกิจแห่งประเทศไทย
•ทรงเป็นเจ้านายพระองค์แรกที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก
ทรงตัดสินพระทัยปลงพระชนม์เองด้วยพระแสงปืนในวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2455 บางว่าเสียใจเพราะพระชายาเสียชีวิต บางว่า ให้ข้อมูลว่า "...ไม่ปรากฏว่าทรงมีหม่อมห้ามและโอรส ธิดา จึงไม่มีทายาทสืบสกุล" และ "ว่ากันว่า ทรงขัดข้องพระทัยเรื่องราชการงานเมือง เมื่อไม่ได้ดังที่ตั้งพระทัยดีเอาไว้ ก็ทรงน้อยพระทัย หุนหัน ไม่ได้มีเรื่องเกี่ยวกับรักๆใคร่ๆส่วนพระองค์แต่อย่างใด"

ลูก26

ลูก26

๒๗.เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง สนิทวงศ์


๒๗.เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง สนิทวงศ์

รูป27

รูป27

เนื้อหา27

เป็นธิดาของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ กับหม่อมเขียน เจ้าจอมมารดา หม่อมราชวงศ์เนื่อง สนิทวงศ์ ถึงแก่ หลังให้ประสูติกาลพระโอรสได้ 12 วัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี เป็นผู้เลี้ยงดูพระโอรสและพระธิดาทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดา 2 พระองค์ คือ

•พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท
•สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร
“ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม พระองค์ทรงถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมอยู่ในกบฏพระยาทรงสุรเดช ทำให้พระองค์ถูกคุมขังที่เรือนจำบางขวางและตะรุเตา รวมทั้งถูกถอดออกจากฐานันดรศักดิ์ แต่ได้มีการประกาศสถาปนาพระอิสริยยศฐานันดรศักดิ์ตามเดิม เมื่อ พ.ศ. 2487 ในสมัยนายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี”

ลูก27

ลูก27

๒๘. เจ้าจอมมารดาอ่อน บุนนาค


๒๘. เจ้าจอมมารดาอ่อน บุนนาค

รูป28

รูป28

เนื้อหา28

ธิดาของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) ที่เกิดกับท่านผู้หญิงอู่ มีพี่น้องร่วมบิดาทั้งสิ้น 62 คน โดยในจำนวนนี้ มี 5 คน ที่เกิดจากท่านผู้หญิงอู่และได้รับราชการเป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 คือ ที่รู้จักในนาม เจ้าจอมก๊กออ ได้รับการฝากฝังโดย สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วงบุนนาค) ผู้มีศักดิ์เป็นลุง ให้อยู่กับเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ มีหน้าที่ช่วยตั้งเครื่องเสวย และได้ถวายตัวเป็นพระสนม เจ้าจอมมารดาอ่อน พร้อมด้วยน้องๆ ทั้งสี่คน และพระราชธิดาทั้งสอง ได้ตามเสด็จ ถวายงานใกล้ชิดพระองค์อยู่เสมอ ไม่ว่าจะประทับที่ใด มีพระราชธิดา ๒ พระองค์ และที่ทรงแท้งอีก ๒ พระองค์

•พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรประพันธ์รำไพ
ทรงเป็นราชนารีที่โปรดการผจญป่าดงพงไพรและทรงม้าได้ดีเยี่ยม
•พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา พระองค์และพระเชษฐภคินีทรงสนิทสนมคุ้นเคยเสด็จไปมาหาสู่กับพระราชชายา เจ้าดารารัศมี

ลูก28

ลูก28

๒๙.เจ้าจอมมารดาพร้อม


๒๙.เจ้าจอมมารดาพร้อม

รูป29

รูป29

เนื้อหา29

ธิดาพระยาพิษณุโลกาธิบดี(บัว) กับขรัวยายกลิ่น มีโอรสและธิดา 4 พระองค์

•พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาพรรณพิไลย (แฝด) ทรงเป็นพระราชธิดาแฝดคู่เดียวในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าทรงโปรดปรานพระราชธิดาแฝด และทรงโปรดเกล้าฯ ให้พี่เลี้ยงเชิญตามเสด็จด้วยอยู่เสมอจนกระทั่งพระองค์เจ้าประไพพรรณพิลาส ประชวร และสิ้นพระชนม์
•พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประไพพรรณพิลาส (แฝด) (สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์ 1ปี 3เดือน)
•พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสมัยวุฒิวโรดม (สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์)
•พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร หลังจากเจ้าจอมมารดาพร้อม ถึงแก่อนิจกรรม ทรงทูลขอพระราชทาน พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร มาอภิบาลเป็นพระราชธิดาบุญธรรม พร้อมกับ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ และพระองค์เจ้าประภาพรรณพิไลย พระองค์เจ้าวาปีบุษบากรทรงมีพระชนมายุยืนยาวถึง 91 ปี ทรงดำรงพระชนม์ชีพเป็นองค์สุดท้ายและมีพระชนมายุมากที่สุดในจำนวนพระราชโอรสพระราชธิดาและทรงเป็นพระธิดาบุญธรรมพระองค์เดียวที่มีพระชนมชีพอยู่จนได้จัดการพระบรมศพของสมเด็จพระราชมารดาเลี้ยง คือ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี

ลูก29

ลูก29

๓o.เจ้าจอมมารดาวง เนตรายน


๓o.เจ้าจอมมารดาวง เนตรายน

รูป30

รูป30

เนื้อหา30

ธิดาพระยาอรรคราชนาคภักดี(เนตร) กับขรัวยายอุ่น มีพระธิดา 1องค์

•พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโกมลเสาวมาล (สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์)

๓๑.เจ้าจอมมารดาแส โรจนดิศ


๓๑.เจ้าจอมมารดาแส โรจนดิศ

รูป31

รูป31

เนื้อหา

เป็นธิดารุ่นเล็กของพระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ) ได้เข้าถวายตัวเป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านเป็นเจ้าจอมคนสำคัญท่านหนึ่งในรัชกาลที่ ๕ เรือนของท่านในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งเป็นตำหนักพระราชธิดาสองพระองค์ด้วย กว้างขวางใหญ่เกือบเท่าตำหนัก สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ท่านได้ให้กำเนิดพระราชโอรสและพระธิดา คือ

•พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเขจรจิรประดิษฐ (สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์)
•พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัพภันตรีปชา ทรงเป็นที่สนิทสิเนหาจากสมเด็จพระบรมชนกเป็นอันมาก
•พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยาลังการ

ลูก31

ลูก31

๓๒.เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เกสร สนิทวงศ์


๓๒.เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เกสร สนิทวงศ์

รูป32.

รูป32.

เนื้อหา32.

เป็นธิดาของหม่อมเจ้าสวาสดิ์ สนิทวงศ์ (พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านวม กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้นำทุนทรัพย์สมบัติของเจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เกสร และพระราชโอรส 2 พระองค์ ไปสร้างโรงเรียนมัธยม วัดเบญจมบพิตร (โรงเรียนเบญจมบพิตร )
หม่อมราชวงศ์เกสร สนิทวงศ์ เข้าถวายตัวเป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และให้พระประสูติกาลพระราชโอรส 2 พระองค์คือ

•พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์ (สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์ 4ปี)
•พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรสิริประสาธน์ (สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์ 9ปี)

ลูก32.

ลูก32.

๓๓.เจ้าจอมมารดาชุ่ม ไกรฤกษ์


๓๓.เจ้าจอมมารดาชุ่ม ไกรฤกษ์

รูป33

รูป33

เนื้อหา33

เป็นธิดาของพระมงคลรัตน์ราชมนตรี (ช่วง ไกรฤกษ์) และเป็นพี่สาวของพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ ในปี 2439 ท่านได้ตามเสด็จพระพุทธเจ้าหลวงโดยรับหน้าที่เป็นนางสนองพระโอษฐ์ให้กับพระบรมราชินีนาถ สาเหตุที่ท่านได้ตามเสด็จด้วยนั้นเป็นเพราะว่า ท่านใส่ชุดฝรั่งขึ้น

ทรงมีพระธิดา 2พระองค์
•พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา
•พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุจิตราภรณี

ลูก33

ลูก33

๓๔.เจ้าจอมมารดาเลื่อน นิยะวานนท์


๓๔.เจ้าจอมมารดาเลื่อน นิยะวานนท์

รูป34

รูป34

เนื้อหา34

เมื่อท่านอายุได้ 9 ปี ได้เข้าไปอยู่ในพระบรมมหาราชวัง แล้วจึงถวายตัวแด่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินินาถ แล้วได้เป็นละครหลวง ต่อมาทรงให้เป็นเจ้าจอม “ท่านจะมีหน้าที่ประจำ คือ การอ่านหนังสือถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในเวลาเข้าที่บรรทมเป็นนิจ เพราะพระองค์ทรงพระบรรทมยาก ท่านเจ้าจอมมารดาท่านมีเสียงที่ไพเราะ อ่านได้นาน ๆ ไม่แหบแห้ง ทั้งเป็นผู้ถูกอัธยาศัย” ทรงพระกรุณามาก เมื่อต่อมาพระราชโอรสทรงได้รับใช้ใกล้ชิดพระองค์ก็เป็นเหตุให้ทรงยกย่องเจ้าจอมมารดาเลื่อนยิ่งขึ้น ครั้นพระองค์เจ้าอุรุพงษ์สิ้นแล้ว เจ้าจอมมารดาเลื่อนถวายคืนพระมรดกของพระองค์เจ้าอุรุพงษ์ฯทั้งหมด เจ้าจอมมารดาเลื่อน เป็นบุคคลที่มีใจเป็นบุญ ทรงมีพระธิดาและพระโอรส

•พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลวาดวรองค์(สิ้นเมื่อทรงพระเยาว์)
•พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช
“ ทรงโปรดให้ตามเสด็จใกล้ชิด ได้ตามเสด็จประพาสต้นและประพาสยุโรป ทรงรักมากมิให้เสด็จเรียนต่างประเทศ ทรงประชวรด้วยโรคไส้ตัน สิ้นพระชนม์ด้วยวัยเพียง 17 พรรษา ทรงโทมนัสยิ่งนักที่ พระราชโอรสสิ้นพระชนม์ในวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระองค์” ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานว่า สะพานอุรุพงษ์ คงเหลือแต่ชื่อ ถนนอุรุพงษ์ และ สี่แยกอุรุพงษ์ ในปัจจุบัน

ลูก34

ลูก34

๓๕.เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์จิ๋ว กปิตถา


๓๕.เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์จิ๋ว กปิตถา

รูป35

รูป35

เนื้อหา35

ธิดาในหม่อมเจ้าวัฒนา กปิตถา มีพระองค์เจ้าหญิง สิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษาเดือนเศษ

๓๖.เจ้าจอมมารดาเหม อมาตยกุล


๓๖.เจ้าจอมมารดาเหม อมาตยกุล

รูป36

รูป36

เนื้อหา36.

เจ้าจอมมารดาเหมเป็นธิดาคนโตของพระยาธรรมสารนิติวิชิตภักดี (พลับอมาตยกุล)และท่านขรัวยายแสง ท่านเป็นผู้รักการดนตรี และได้สนิทสนมกับพระราชชายา เจ้าดารารัศมีเป็นพิเศษ เมื่ออายุ 12 ปี บิดาก็ได้นำท่านไปฝากถวายตัวในวัง กับน้องสาวชื่อประคอง ไว้กับท้าวทรงกันดาล (วรรณ อมาตกุล)ผู้บังคับการพระคลังฝ่ายใน ท่านได้เรียนวิชาของกุลสตรี คือ การช่างฝีมือ และการขับร้อง จนสามารถร้องเพลงดับมโหรีโบราณได้ดี ได้ร้องเป็นต้นเสียเพราะแม่นเพลง พร้อมทั้งเรียนวิชาหมอนวดและปรุงน้ำอบไทย เจ้าจอมมารดาเหมได้ถวายเป็นเจ้าจอมเมื่ออายุ 14 ปี ได้ร่วมทำงานมโหรีฝ่ายใน บรรเลงมโหรีเครื่องสี่ ถวายแด่พระเจ้าอยู่หัวในยามทรงว่างพระราชธุระ ในเวลากลางคืน ท่านได้ถวายตัวอยู่งานพร้อมกับน้องสาว คือนางสาวประคอง และพระองค์หนึ่งนางสาวสังวาลย์ และได้เพื่อนเจ้าจอมรุ่นเดียวกันอีก คนหนึ่ง คือเจ้าจอมมารดาวาด ร่วมบรรเลงมโหรีเครื่องสี่ ท่านได้ป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านม และยินยอมให้แพทย์ฝรั่งผ่าตัด นับเป็นสตรีไทยคนแรกที่สามารถรักษามะเร็งที่เต้านมเป็นผลสำเร็จ เป็นพระมารดาของพระองค์
1.เจ้าชายหนึ่งพระองค์ (ไม่ประสูติเป็นพระองค์)
2. พระองค์เจ้าหญิงมัณฑนาภาวดี ต่อมาเปลี่ยนพระนามเป็น “เหมวดี”

ลูก36

ลูก36

เจ้าจอม




เจ้าจอม คือ ฐานันดรศักดิ์พระสนมกับสนมที่มิใช่สมาชิกแห่งพระราชวงศ์ แต่ไม่มีพระราชโอรสหรือพระราชธิดา สนองพระเจ้าแผ่นดินกับสมเด็จพระบวรราชเจ้า มีเจ้าจอมรวม 116องค์

รวมเจ้าจอม

รวมเจ้าจอม

37-59

๓๗.เจ้าจอมโหมด บุนนาค ธิดาพระยาวิชยาธิบดี (แบน)

๓๘.เจ้าจอมลิ้นจี่ ธิดาพระพิพัฒโกษา (ตาบ)

๓๙.เจ้าจอมนวล ณ นคร ธิดาพระยาเสนานุชิต (นุด)

๔o.เจ้าจอมจัน ธิดาท่านเผื่อน

๔๑.เจ้าจอมหม่อมหลวงถนอม เทพหัสดิน ธิดาพระยาราชภักดีศรีรัตนราชสมบัติบดี(หม่อมราชวงศ์ช้าง) กับท่านคล้าย

๔๒. เจ้าจอมละม้าย สุวรรณทัต ธิดาพระยาอนุชิตชาญไชย

๔๓. ท้าวนารีวรคณารักษ์ ธิดาพระยาศรีสิงเทพ (ทัต)

๔๔.เจ้าจอมสว่าง ณ นคร ธิดาพระยานครศรีธรรมราช

๔๕.ท้าวภัณฑสารนุรักษ์ (เจ้าจอมเพิ่ม รัตนทัศนีย์) ธิดาขุนสมุทรสาคร(ยอด) กับท่านขำ

๔๖. เจ้าจอมจีน บุนนาค ธิดาพระยาวรวงศ์พิพัฒน์กับท่านแย้ม

๔๗เจ้าจอมเนื่อง บุณยรัตพันธุ์ ธิดาพระยาสีหราชฤทธิไกร(แย้ม) กับคุณหญิงกลาง

๔๘.เจ้าจอมเพิ่ม ณ นคร ธิดาพระอิศราธิไชย (กลิ่น)

๔๙เจ้าจอมเจริญ

๕oเจ้าจอมอ้น บุนนาค ธิดาเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร) เป็นน้องสาวต่างมารดาของเจ้าคุณพระประยูรวงศ์

๕๑.เจ้าจอมเอม พิศลยบุตร ธิดาพระยาพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์ (ยิ้ม) เป็นน้องสาวเจ้าจอมมารดาอ่วม

๕๒. เจ้าจอมช่วง พิศลยบุตร ธิดาพระยาพิสณฑ์สมบัติบริบูรณ์ (ยิ้ม) เป็นน้องสาวเจ้าจอมมารดาอ่วม

๕๓.เจ้าจอมใย บุณยรัตพันธุ์ ธิดาเจ้าพระยาภูธราภัย (นุช)

๕๔.เจ้าจอมกลีบ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ธิดาพระยาไชยสุรินทร์(หม่อมหลวงเจียม)

๕๕.เจ้าจอมลิ้นจี่ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ธิดาพระยาไชยสุรินทร์(หม่อมหลวงเจียม) กับท่านตาบ

๕๖.เจ้าจอมฟักเหลือง เทพหัสดิน ณ อยุธยา ธิดาพระยาไชยสุรินทร์(หม่อมหลวงเจียม) กับท่านตาบ

๕๗. เจ้าจอมประคอง อมาตยกุล ธิดาพระยาธรรมสารนิติพิพิธภักดี(ตาด) กับคุณหญิงอิ่ม เจ้าจอมมารดาเหม อมาตยกุล

๕๘.เจ้าจอมสังวาลย์ อมาตยกุล ธิดาพระยากษาปนกิจโกศล

๕๙.เจ้าจอมอบ ธิดาพระยาประภากรวงศ์วรวุฒิภักดี (ว่อง)

๖o เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์แป้น มาลากุล


๖o เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์แป้น มาลากุล

รูป60

รูป60

เนื้อหา60

ธิดาพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจรจรัสวงศ์ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ กับ หม่อมเพิ่ม

๖๑. ท้าววรคณานันท์ (เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์ปั้ม มาลากุล)


๖๑.ท้าววรคณานันท์ (เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์ปั้ม มาลากุล)


ธิดาพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจรจรัสวงศ์ กรมหมื่นปราบปรปักษ์

รูป61

รูป61

๖๒. ท้าววรคณานันท์ (เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์แป้ม มาลากุล)


๖๒. ท้าววรคณานันท์ (เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์แป้ม มาลากุล)
ธิดาพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจรจรัสวงศ์ กรมหมื่นปราบปรปักษ์

รูป62.

รูป62.

๖๓. เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์แป้ว มาลากุล


๖๓. เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์แป้ว มาลากุล
ธิดาพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจรจรัสวงศ์ กรมหมื่นปราบปรปักษ์

รูป63

รูป63

๖๔.เจ้าจอมพิศ บุนนาค


๖๔.เจ้าจอมพิศ บุนนาค
ธิดาเจ้าพระยาภาสกรวงศ์(พร) กับท่านผู้หญิงเปลี่ยน

รูป64

รูป64

65-70


๖๕.เจ้าจอมถนอม ภัทรนาวิก ธิดานายบุ้นเฮียง

๖๖.เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์เยื้อน

๖๗.เจ้าจอมอิ่ม

๖๘.เจ้าจอมเชื้อ

๖๙.เจ้าจอมทับทิม

๗o.เจ้าจอมเพิ่ม สุจริตกุล

๗๑.เจ้าจอมเอี่ยม บุนนาค


๗๑.เจ้าจอมเอี่ยม บุนนาค

รูป๗๑.เจ้าจอมเอี่ยม บุนนาค

รูป๗๑.เจ้าจอมเอี่ยม บุนนาค

เนื้อหา71.

เป็นเจ้าจอมพระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า มีพระเจ้าลูกเธอที่ตกพระโลหิต ยังไม่เป็นพระองค์ จำนวน 2 พระองค์ ธิดาเจ้าพระยาสุรพันธุ์พิสุทธิ์(เทศ) กับท่านผู้หญิงอู่ เจ้าจอมเอี่ยมเข้าถวาย เมื่ออายุได้ 13 ปี เป็นผุ้มีฝีมือในการทำอาหาร มีหน้าที่เป็นผู้ช่วยทำเครื่องเสวย ของ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ถวายงานนวดพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในเวลาเข้าที่พระบรรทม เป็นที่สบพระราชหฤทัย ดังปรากฏในพระราชหัตถเลขาหลายครั้ง เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเสด็จสวรรคต เจ้าจอมเอี่ยมได้พำนักอยู่ที่ตำหนักในวังสวนสุนันทา ได้ย้ายไปมาอยู่ที่เรือนสร้างใหม่ริมคลองสามเสน กับถนนสามเสน สร้างบนที่ดินพระราชทานแก่เจ้าจอมก๊กกออ ที่เรียกว่า "สวนนอก"

๗๒.เจ้าจอมเอิบ บุนนาค


๗๒.เจ้าจอมเอิบ บุนนาค

รูป๗๒.เจ้าจอมเอิบ บุนนาค

รูป๗๒.เจ้าจอมเอิบ บุนนาค

เนื้อหา๗๒.เจ้าจอมเอิบ บุนนาค

เป็นบุตรคนที่ 11 ในจำนวน 14 คน ของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) ที่เกิดกับท่านผู้หญิงอู่ มีพี่น้องร่วมบิดาทั้งสิ้น 62 คน โดยในจำนวนนี้ มี 5 คน ที่เกิดจากท่านผู้หญิงอู่(สกุลเดิม วงศาโรจน์) และได้เป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 คือ เจ้าจอมมารดาอ่อน เจ้าจอมเอี่ยม เจ้าจอมเอิบ เจ้าจอมอาบ และเจ้าจอมเอื้อน เจ้าจอมเอิบ มีความสามารถในการใช้กล้องถ่ายภาพ สามารถถ่ายภาพ และล้างรูปได้ด้วยตัวเอง เป็นช่างภาพสมัครเล่นในราชสำนัก ซึ่งได้ถ่ายภาพพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระฉายาลักษณ์ของเจ้านายหลายพระองค์ ผู้คนยกย่องให้ท่านเป็น "คนโปรดตลอดรัชกาล" เชี่ยวชาญการถ่ายรูป

๗๓. เจ้าจอมอาบ บุนนาค


๗๓. เจ้าจอมอาบ บุนนาค

รูป๗๓. เจ้าจอมอาบ บุนนาค

รูป๗๓. เจ้าจอมอาบ บุนนาค

เนื้อหา๗๓. เจ้าจอมอาบ บุนนาค

เข้าถวายตัวรับราชการฝ่ายในเมื่อ พ.ศ. 2438 เมื่ออายุได้ 14 ปี มีหน้าที่ถวายงานรับใช้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร่วมกับเจ้าจอมเอิบ และเจ้าจอมเอื้อน เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ได้ย้ายไปพำนักอยู่ด้วยกันกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา จนกระทั่งเสด็จพระองค์อาทรฯ สิ้นพระชนม์ในปี ๒๕๐๑ ท่านเจ้าจอมอาบเป็นผู้ดูแลเตรียมงานพระศพจนลุล่วงไปด้วยดี และท่านก็ยังคงพำนักอยู่ ณ ตำหนักทิพย์ต่อมา

๗๔.เจ้าจอมเอื้อน บุนนาค


๗๔.เจ้าจอมเอื้อน บุนนาค

รูป๗๔.เจ้าจอมเอื้อน บุนนาค

รูป๗๔.เจ้าจอมเอื้อน บุนนาค

เนื้อหา๗๔.เจ้าจอมเอื้อน บุนนาค

เจ้าจอมเอื้อน เป็นผู้มีฝีมือในการถ่ายภาพ และมีความสามารถในการล้างรูป เช่นเดียวกับเจ้าจอมเอิบผู้พี่ อีกทั้งยังมีความสามารถในการเล่นไวโอลิน เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เจ้าจอมอาบได้พำนักอยู่ที่ตำหนักในวังสวนสุนันทา ปัจจุบันอาคารนี้มีชื่อว่า "ตึกเอื้อนอาชว์แถมถวัลย์" ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ท่านเจ้าจอมเอื้อน(พระสนมเอกในรัชกาลที่ ๕)

เจ้าจอมก๊กกออ


เจ้าจอมก๊กกออ

รูป

รูป

๗๕.เจ้าจอมแก้ว บุนนาค


๗๕.เจ้าจอมแก้ว บุนนาค
ธิดาเจ้าพระยาสุรพันธุ์พิสุทธิ์(เทศ) กับท่านพวง (น้องสาวต่างมารดากับเจ้าจอมก๊กออ)

๗๖. เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์เฉียด ลดาวัลย์


๗๖. เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์เฉียด ลดาวัลย์

๗๖. เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์เฉียด ลดาวัลย์

๗๖. เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์เฉียด ลดาวัลย์

เนื้อหา๗๖. เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์เฉียด ลดาวัลย์

ธิดาหม่อมเจ้าฉาย ลดาวัลย์ กับหม่อมฉิม เป็นหม่อมราชวงศ์คนแรก ในราชสกุล "ลดาวัลย์" ด้วยเหตุที่เป็นหม่อมราชวงศ์คนที่หนึ่งของราชสกุล จึงมีชื่อเรียกกันว่า "คุณใหญ่" เป็นผู้ที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัย รับหน้าที่ปอกผลไม้เครื่องต้นทุกมื้อ ท่านยังมีฝีมือในการเย็บจีวรตะเข็บ 2 ชั้น หลังสิ้นรัชกาลที่ 5 ท่านได้กราบถวายบังคมลาออกจากวัง มาพำนัก โดยอยู่กับเจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ แล้วท่านจึงได้ออกจากสวนสุนันทา มาอยู่ที่ทับสุข ภายในเขตวัดเขาบางทราย จังหวัดชลบุรี บั้นปลายชีวิตท่านมีอาการป่วยเป็นต้อ การรักษาไม่ได้ผล ท่านจึงได้ตาบอด จนถึงอนิจกรรม

77-85

๗๗.เจ้าจอมก้อนแก้ว ธิดาพระยาธรรมาจารยานุกุลมนตรี(เจริญ)

๗๘. เจ้าจอมถนอม บรรจงเจริญ ธิดานายสงวน

๗๙. เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์ข้อ สนิทวงศ์ เป็นธิดาของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ กับหม่อมเขียน เป็นน้องสาวของหม่อมราชวงศ์สุวพรรณ สนิทวงศ์ หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์ (เจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์) และเจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง สนิทวงศ์

๘oเจ้าจอมแฉ่ง

๘๑.เจ้าจอมน้อม โชติกเสถียร ธิดาพระยาธรรมาจารยานุกูลมนตรี(ทองดี) กับคุณหญิงลูกจันทน์ ทำงานเกี่ยวกับพระเครื่องต้น

๘๒.เจ้าจอมเจียน โชติกเสถียร ธิดานายโกย โชติกเสถียร

๘๓.เจ้าจอมเยียม โชติกเสถียร ธิดาจมื่นเสมอใจราช (จู)

๘๔เจ้าจอมกิมเหรียญ โชติกเสถียร ธิดาพระยาโชฎึกราชเศรษฐี(เถียน)

๘๕.เจ้าจอมช่วง

๘๖. เจ้าจอมเลียม บุนนาค


๘๖. เจ้าจอมเลียม บุนนาค

รูป๘๖. เจ้าจอมเลียม บุนนาค

รูป๘๖. เจ้าจอมเลียม บุนนาค

เนื้อหา๘๖. เจ้าจอมเลียม บุนนาค

เป็นบุตรีคนที่ 4 ในเจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) กับ ท่านผู้หญิงตลับ (สกุลเดิม โอสถานนท์) เมื่อท่านอายุได้ 11 ปี มารดาส่งเข้าไปอยู่ใน วังในสำนักของท่านเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ ผู้เป็นอา ต่อมาได้ถวายตัวรับใช้ รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯให้เป็นเจ้าจอม ภายหลังสิ้นรัชกาลที่ 5 ได้ 2 ปีแล้ว ท่านจึงกราบถวายบังคมลาออกมาอยู่ที่บ้านเดิม ตำบลตลาดแขก ฝั่งธนบุรี กับมารดาและพี่น้อง ตลอดชีวิตได้ทำบุญมากมาย ท่านได้ล้มป่วยด้วยโรคหัวใจ สิริอายุ 78 ปี

87-88


๘๗.เจ้าจอมสมบูรณ์ มันประเสริฐ ธิดาเจ้าสัวซุ้ย

๘๘.เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์ละม้าย สิงหรา ธิดาหม่อมเจ้าพีระพงษ์ สิงหรา

๘๙.เจ้าจอมแถม บุนนาค


๘๙.เจ้าจอมแถม บุนนาค ธิดาพระสัจจาภิรมย์(แถบ)

รูป๘๙.เจ้าจอมแถม บุนนาค

รูป๘๙.เจ้าจอมแถม บุนนาค

90-150


๙o.เจ้าจอมอ่ำ คุรุกุล ธิดาพระมหาราชครูพิธี หัวหน้าพราหมณ์

๙๑.เจ้าจอมพิพัฒน์

๙๒..เจ้าจอมวงศ์

๙๓.เจ้าจอมพิณ ณ นคร

๙๔.เจ้าจอมบ๋วย ธิดาพระภักดีภัทรากร

๙๕.เจ้าจอมแฉ่ง พลกนิษฐ์ ธิดาพระอินทรเดช(สังวาล)

๙๖.เจ้าจอมจำเริญ ธิดาพระยาอนุชิตชาญชัย (พึ่ง)

๙๗.เจ้าจอมจำเริญ ธิดาพระยาปรีชาชีพบริบาล(เหมือน)

๙๘.เจ้าจอมจำเริญ โชติกสวัสดิ์ ธิดาพระยาโชฎึกราชเศรษฐี(ฟัก)
๙๙.เจ้าจอมจัน ธิดาท่านนุช

๑oo.เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์จรวย ปราโมช ธิดาหม่อมเจ้าจำรูญ ปราโมช ท่านได้รับราชการสนองพระมหากรุณาธิคุณจนตลอดรัชกาล โดยมีหน้าที่จัดเตรียมเครื่องสรงพระพักตร์ และทรงเครื่องในเวลาบรรทมตื่นที่พระที่นั่งอัมพรสถาน ในช่วงเวลา 11-12 น. และเมื่อเสด็จพระราชดำเนินออกเสวย ก็ต้องอยู่ประจำในหน้าที่ตั้งเครื่องเสวยทั้งในมื้อเช้าและมื้อเย็น รับใช้ไปจนเข้าที่พระบรรทม ราว 5-6 น. บางครั้งก็ต้องรับหน้าที่อ่านหนังสือถวายแทนเจ้าจอมมารดาเลื่อน และคอยเฝ้าในเวลาทรงปรุงพระกระยาหารด้วยพระองค์เองด้วย
เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์จรวย ปราโมช ป่วยด้วยโรคชรา ถึงอนิจกรรมเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2511 สิริอายุได้ 82 ปี 4 เดือน


๑0๑.เจ้าจอมเจิม ธิดาพระยาวิเศษสัจธาดา(จับ) มีพระองค์เจ้าหนึ่งพระองค์ แต่ไม่เป็นพระองค์(แท้ง)

๑0๒.เจ้าจอมเจิม ธิดาพระยาสุจริตรักษา(อ่วม)

๑0๓.เจ้าจอมเจิม ศรีเพ็ญ ธิดาพระยาหาอำมาตย์(หรุ่น)

๑0๔.เจ้าจอมเจียม

๑0๕.เจ้าจอมจิ๋ว

๑0๖.เจ้าจอมทิพมณฑา

๑0๗.เจ้าจอมทิพย์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ธิดาหม่อมหลวงผึ่ง

๑0๘.เจ้าจอมทิพย์ ศกุณะสิงห์ ธิดาพระยาเพ็ชรพิไชย(สิงโต)

๑0๙.เจ้าจอมอิ่ม คุรุกุล ธิดาพระมหาราชครูพิธี(อาจ) หัวหน้าพราหมณ์

๑๑0.เจ้าจอมอิม โชติกเสถียร ธิดาพระยาโชฎึกราชเศรษฐี(ทองจีน)

๑๑๑เจ้าจอมเชื้อ พลกนิษฐ์ ธิดาพระอินทรเดช(สังวาล)

๑๑๒.เจ้าจอมเชย บุนนาค ธิดาพระยาประภากรวงศ์

๑๑๓.เจ้าจอมเขียน ธิดานายเสถียรรักษา(เที่ยง)

๑๑๔.เจ้าจอมกิมเนียว หลานสาวพระยาอนุกูลสยามกิจ(ตันกิมเจ๋ง)

๑๑๕เจ้าจอมลิ้นจี่ จารุจินดา ธิดาพระยาเพ็ชรพิไชย(ทองจีน)

๑๑๖.เจ้าจอมกลิ่น
๑๑๗.เจ้าจอมลม้าย

๑๑๘.เจ้าจอมลูกจันทร์ จารุจินดา

๑๑๙เจ้าจอมลูกจันทร์ เอมะศิริ ธิดาพระยาสุนทรสงคราม(ช่วง)

๑๒0.เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์มณี อิศรางกูร ธิดาหม่อมเจ้าโสภณ อิศรางกูร
๑๒๑.เจ้าจอมเมขลา

๑๒๒.เจ้าจอมมิ จาตุรงคกุล ธิดานายสถิตยศสถาน(พร้อม)

๑๒๓เจ้าจอมมอญ

๑๒๔.เจ้าจอมเน้ย ธิดาขุนพรหมอักษร แห่งเอี่ยมอักษร

๑๒๕.เจ้าจอมเง็ก

๑๒๖.เจ้าจอมเงิน สินสุข

๑๒๗.เจ้าจอมน้อย

๑๒๘.เจ้าจอมน่วม

๑๒๙.เจ้าจอมผาด ทันตานนท์ ธิดาพระยาพิชัย(ต่าย)

๑๓0.เจ้าจอมพลับ

๑๓๑.เจ้าจอมเปลี่ยน ณ บางช้าง ธิดาพระยามหิศรราชสัมพันธ์(กุญ)

๑๓๒.เจ้าจอมประยงค์ อมาตยกุล ธิดาพระยาอภิรักษ์ราชอุทยาน(แฉล้ม)

๑๓๓.เจ้าจอมเปรม

๑๓๔.เจ้าจอมปุ้ย

๑๓๕.เจ้าจอมปุก บุนนาค ธิดาพระยาศรีพิพัฒน์ราชโกษา(แพ) กับท่านเอี่ยม

๑๓๖.เจ้าจอมเหรียญ ธิดาเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์(วร) เป็นน้องสาวต่างมารดาเจ้าคุณพระประยูรวงศ์

๑๓๗.เจ้าจอมสาย

๑๓๘.เจ้าจอมสาลี่ ศรีเพ็ญ ธิดาพระยามหาอำมาตย์(หรุ่น)

๑๓๙.เจ้าจอมสำอาง บุณยรัตพันธุ์ ธิดาเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช

๑๔0.เจ้าจอมสว่าง ธิดาหลวงมหามณเฑียร(จุ้ย)

๑๔๑.เจ้าจอมสิน ศรีเพ็ญ ธิดาพระยาพิชัยสงคราม(นก)

๑๔๒.เจ้าจอมสวน บุณยรัตพันธุ์ ธิดาเจ้าพระยาภูธราภัย(นุช)

๑๔๓.เจ้าจอมสิงหรา

๑๔๔.เจ้าจอมสุวรรณ ณ นคร ธิดาพระยากาญจนดิษฐบดี(พุ่ม)

๑๔๕.เจ้าจอมสวาสดิ์ สาลักษณ์ ธิดาพระยาศรีสุนทรโวหาร(เพ็ญ)

๑๔๖.เจ้าจอมถนอม แสงชูโต ธิดาเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี

๑๔๗เจ้าจอมนอม หลานสาวหม่อมทอง

๑๔๘.เจ้าจอมเยื้อน แสงชูโต ธิดาเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี กับท่านป้วน

๑๔๙เจ้าจอมวอน ธิดาพระยาวรวงศ์พิพัฒน์(แย้ม)

๑๕o.เจ้าจอมเยื้อน ธิดาพระยาวรวงศ์พิพัฒน์(แย้ม) กับคุณหญิงทองคำ

๑๕๑.เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์ สดับ ลดาวัลย์


๑๕๑.เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์ สดับ ลดาวัลย์

รูป๑๕๑.เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์ สดับ ลดาวัลย์

รูป๑๕๑.เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์  สดับ ลดาวัลย์

เนื้อหา๑๕๑.เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์ สดับ ลดาวัลย์

ธิดาหม่อมเจ้า เพิ่ม ลดาวัลย์ กับหม่อมช้อย นางอันเป็นที่รักองค์สุดท้าย เจ้าจอมผู้ที่สนิทเสน่หายิ่ง ซึ่งได้รับพระราชทานเครื่องเพชรมากมายเป็นทุนรอนจาก รัชกาลที่ ๕ และเป็นเครื่องประดับที่ซื้อมาจากคราวประพาสยุโรปครั้งที่ 2 นอกจากนั้นท่านยังเป็นคนสุดท้ายที่ได้ร้องเพลง นางร้องไห้ และเจ้าจอมคนสุดท้ายของราชวงศ์จักรีที่ยังดำรงชีพและเสียชีวิตในยุคปัจจุบันนี้ เมื่อท่านมีอายุได้ ๑๑ ปี หม่อมยายได้พาท่านไปถวายตัวเป็นข้าหลวงในตำหนัก พระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ซึ่งพระองค์ได้ทรงอบรมเลี้ยงดูหม่อมราชวงศ์สดับในฐานะพระญาติ และยังโปรดให้เรียนหนังสือทั้ง ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ รวมทั้งหัดงานฝีมือ ตลอดจนการอาหารคาวหวานจนเชี่ยวชาญ นอกจากความอัฉริยภาพและความงามแล้ว ความมีเสียงอันไพเราะ เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๙ หม่อมราชวงศ์สดับได้เข้าปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วันนี้ท่านได้รับพระราชทาน "กำไลมาศ" จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นกำไลทองคำแท้จากบางสะพาน หนักสี่บาท วันนี้ถือว่าเป็นวันที่ท่านมีความสุขมากที่สุด และทั้งตลอดชีวิตของท่าน เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับมิได้ถอดออกจากข้อมือเลย จวบจนชีวิตท่านหาไม่แล้ว หม่อมหลวงพูนแสง สูตะบุตร ผู้เป็นหลานสาวจึงเป็นผู้ที่ถอดออกให้ และได้ถวาย "กำไลมาศ" แด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในงานพระราชทานเพลิงศพของเจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับนั้นเอง ในปีที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตนั้น เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับมีอายุเพียง ๒๐ ปี ทำให้ท่านเป็นที่จับตามองจากคนรอบข้างว่าจะสามารถครองตัวครองใจเป็นหม้ายได้ต่อไปตลอดหรือไม่ หลังจากนั้นอีกไม่นาน ท่านได้ถวายคืนเครื่องเพชรทั้งหลายที่ได้รับพระราชทานมาแด่สมเด็จพระศรีพัชรินทราฯจนหมดสิ้น สมเด็จฯก็ได้ทรงรับไว้แล้วโปรดเกล้าฯให้นำไปขายที่ยุโรป แล้วนำเงินมาสมทบทุนสร้างโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ทั้งสิ้น นอกจากนั้นท่านยังหันไปยึดมั่นในพระพุทธศาสนา เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลอีกด้วย จนเมื่อท่านเจ้าจอมนั้นมีวัยชราแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ให้ท่านกลับเข้ามาอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ในช่วงเวลานี้นี่เอง ที่ท่านได้มีโอกาสทำคุณประโยชน์อีกครั้ง โดยการถ่ายทอดความรู้ต่างๆ ให้แก่ชนรุ่นหลัง เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ รับสนองพระมหากรุณาธิคุณในกิจการห้องพระเครื่องต้นแห่งราชสำนัก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทำให้เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับมีความชำนาญในการปรุงอาหารคาวหวาน และยังเป็นผู้ที่มีรสนิยมในการรับประทานอาหารเป็นอย่างยิ่ง มีความสุขที่จะเป็นผู้ทำอาหารให้ผู้อื่นรับประทานมาตั้งแต่ยังสาว จนกระทั่งแม้อายุ 92 ปี
เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ลดาวัลย์ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๖ สิริรวมอายุได้ ๙๓ ปี

๑๕๒.เจ้าจอมแส บุนนาค “เจ้าจอมองค์สุดท้าย”


๑๕๒.เจ้าจอมแส บุนนาค “เจ้าจอมองค์สุดท้าย”

รูป๑๕๒.เจ้าจอมแส บุนนาค

รูป๑๕๒.เจ้าจอมแส บุนนาค

เนื้อหา๑๕๒.เจ้าจอมแส บุนนาค

เป็นบุตรีของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) สมุหเทศาภิบาลมณฑลเพชรบุรี กับหม่อมทรัพย์ (น้องสาวต่างมารดากับเจ้าจอม ก๊กออ) "เจ้าจอมแสได้มาอยู่กับเจ้าจอมเอิบที่สวนพุดตาลตั้งแต่ยังสาวรุ่น ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ผู้เขียนฟังถึงสาเหตุที่เจ้าจอมแสจะได้เป็นเจ้าจอมว่า วันหนึ่งเจ้าจอมแสนั่งอาบนำ้อยู่ในคลองหน้าตำหนักของเจ้าจอมเอิบ สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จผ่านมาเห็นเจ้าจอมแสนั่งสระผมอยู่ก็แอบทอดพระเนตร เมื่อสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จเข้าข้างในตำหนักได้ทรงขอเจ้าจอมแสจากเจ้าจอมเอิบ"

เนื้อหาเจ้าศรีพรหมา

หม่อมศรีพรหมา เป็นธิดาของเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช ผู้ครองนครน่านลำดับที่ 13 กับแม่เจ้าศรีคำซึ่งเป็นชาวเวียงจันทน์ และเป็นหนึ่งในจำนวนเชลย 1 พันคน ที่ถูกกวาดต้อนมาไว้ที่เมืองน่าน เมื่อคราวที่พระเจ้าสุริยพงษ์ตามเสด็จกรมหลวงวงศาธิราชสนิท ไปปราบขบถเจ้าอนุเวียงจันทน์ ต่อมาพระเจ้าสุริยพงษ์ได้ยกแม่เจ้าศรีคำขึ้นเป็นหม่อมของท่าน
เมื่อเจ้าศรีพรหมาอายุได้ 3 ขวบเศษ พระยามหิบาลบริรักษ์ (สวัสดิ์ ภูมิรักษ์)ข้าหลวงในรัชกาลที่ 5 และคุณหญิงอุ๊น ภรรยา ได้ขอเจ้าศรีพรหมา ไปเป็นบุตรบุญธรรม พระยามหิบาลและภรรยา ต้องเดินทางไปรับราชการที่ประเทศรัสเซียจึงนำตัวเจ้าศรีพรหมาไปถวายไว้ในพระอุปการะ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี
เจ้าศรีพรหมาใช้ชีวิตและเรียนหนังสืออยู่ในวังร่วมกับเจ้านายในพระบรมราชวงศ์ เป็นเวลา 3 ปี จึงได้ตามครอบครัวไปอยู่ที่ประเทศรัสเซียและประเทศอังกฤษ
เมื่อเจ้าศรีพรหมากลับจากต่างประเทศ ก็ได้กลับไปรับราชการเป็นคุณข้าหลวงในสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีเช่นเดิม ซึ่งบางคราวก็ทำหน้าที่เป็นล่ามติดต่อกับชาวต่างประเทศ ในช่วงนั้นเจ้าศรีพรหมากำลังเป็นสาวเต็มตัว มีทั้งความสวย และอุปนิสัยโอบอ้อมอารี มีความเชื่อมั่นในตัวเอง ผิดจากสตรีชาววังทั่วไป เนื่องจากได้ไปใช้ชีวิตช่วงหนึ่งที่ต่างประเทศ
พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5 ทรงพอพระราชหฤทัยถึงกับจะโปรดให้รับราชการเป็น เจ้าจอม แต่เจ้าศรีพรหมาก็ได้กราบทูลเป็นภาษาอังกฤษไปตามตรงว่า ท่านเคารพพระองค์ในฐานะพระมหากษัตริย์ มิได้รักใคร่พระองค์ท่านในทางชู้สาว ซึ่งรัชกาลที่ 5 ก็ทรงเมตตาให้เป็นไปตามอัธยาศัย และทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อเจ้าศรีพรหมาเสมอ ถึงกับฉายรูปเจ้าศรีพรหมาด้วยพระองค์เอง และเก็บไว้ในห้องบรรทมตลอดมา


ในความจริงนั้น หลังจากหม่อมราชวงศ์สดับก็ยังมีเจ้าจอมที่ท่านเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ หรือข้าหลวงเสนาบดีต่างๆ นำมาถวายรับใช้สนองเบื้องพระยุคลบาทอีกหลายท่าน แต่มิปรากฏนามนัก และเป็นเพียงเจ้าจอมมิได้มีพระราชดโอรสหรือพระราชธิดา ซึ่งปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงใกล้ชิดพระองค์ท่านใดอีก ทรงดูแลภารกิจบ้านเมืองจนประชวรและเสด็จสวรรคตเสียก่อน
บรรดาบาทบริจาริกาและพระภรรยาเจ้าในสมัยในสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงนั้น ล้วนแล้วแต่ถวายตัวใต้ร่มพระบาทมาด้วยความเต็มใจและเต็มพระทัยทั้งสิ้น ด้วยพระราชประเพณีโบราณที่บรรดาขุนนางผู้ใหญ่หรือพ่อค้าใหญ่นานาต่างพากันนำธิดามาถวายกษัตริย์แห่งแผ่นดินจึงต้องรับไว้ด้วยเหตุผลการบ้านการเมือง เพื่อผูกสัมพันธ์มัดใจเป็นบิดาและป็นปู่ของขัตติยนารีแต่ละคนนั้นไว้ ซึ่งมีหลายคนที่เมื่อมิได้ถวายการรับใช้ใกล้ชิดพระองค์แล้วจึงได้กราบถวายบังคมลากลับไปอยู่กับบิดามารดา พระองค์ก็ทรงพระราชทานพระราชุนุญาต และก็มีหลายคนหลายพระองค์ที่เป็นที่ผูกพระทัยสิเน่หาถึงกับทรงสู่ขอมาด้วยพระองค์เอง
ทุกคนทำพระองค์นั้น ต่างล้วนมี “ความรัก” ต่อสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงอย่างผูกพันธ์ลึกซึ้งด้วยเพราะพระรูปโฉมอันงดงามสง่าของพระองค์ประการหนึ่ง และเพราะ “น้ำพระทัย” ของพระองค์ที่ทรงเมตตา “ถนอม” ความรู้สึกของพระภรรยาเจ้าและเจ้าจอมทุกพระองค์อย่างที่เป็นที่น่าตื้นตันยิ่ง ยามที่พระองค์เสด็จสวรรคตไปนานนับสิบปีแล้ว พระภรรยาเจ้าและเจ้าจอมของพระองค์ก็ยังภักดีและอาวรณ์ในพระองค์อย่างลึกซึ้งยิ่งนัก

เจ้าศรีพรหมา

เจ้าศรีพรหมา

เจ้าศรีพรหมา


เจ้าศรีพรหมา สตรีผู้หาญกล้าปฏิเสธพระเจ้าอยู่หัว

ท้ายบท

ความอิจฉาริษยา-ไม่ลงรอยกัน..ในพระราชสำนักฝ่ายใน.

สถานที่ใดที่มีคนอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก ย่อมต้องมีเรื่องราวกระทบกระทั่งกันบ้างไม่มากก็น้อย ในพระราชสำ นักฝ่ายในก็คงหลีกหนีธรรมชาติเช่นนี้ไปไม่พ้น แม้ว่าทุกคนจะมีศูนย์รวมแห่งความจงรักภักดีอยู่ที่ องค์พระบาทสมเด็จสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์เดียวกัน และมีความพยายามที่จะระมัดระวังมิให้เกิดการกระทบกระทั่งกันให้เป็นที่ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท
แต่เพราะพื้นฐานจิตใจและการอบรมบ่มนิสัยของผู้ที่เข้ามาถวายตัวเป็นบาทบริจาริกาแต่ละท่านไม่เหมือนกัน ด้วยเหตุนี้ความอิจฉาริษยา การชิงดีชิงเด่นชิงความรักและความเป็นหนึ่งจึงต้องเกิดขึ้นบ้างไม่มากก็น้อย แต่มักไม่ใคร่จะมีหลักฐานปรากฏเพราะถือเป็นเรื่องส่วนพระองค์ภายในพระราชวงศ์ ไม่สมควรที่คนภายนอกจะล่วงรู้ให้เป็นที่เสื่อมเสียพระเกียรติยศ
อย่างไรก็ตามอาจกล่าวได้ว่า เรื่องการอิจฉาริษยาชิงดี ชิงเด่น กันในพระราชสำนักฝ่ายในนั้นน่าจะมี แต่เป็นเพียงเรื่องราวที่คลุมเครือ ไม่กระจ่างชัดและไม่อาจที่จะกล่าวอย่างตรงไปตรงมา บางเรื่องเป็นเรื่องซุบซิบโจษขานบางเรื่องมีปรากฏในพระราชหัตถเลขา บางเรื่องก็เป็นเรื่องเส็กๆน้อยๆบางเรื่องก็เป็นเรื่องใหญ่
เรื่องเล็กน้อยอาจจะ ได้แก่ความไม่ลงรอยกันหมั่นไส้และหีงหวงกัน ในพระราชหัตถเลขาส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีถึง เจ้าพระยายมราช( ปั้น สุขุม) ลงวันที่ ๒0 พศจิกายน ร.ศ ๑๒๘ เกี่ยวกับเรื่องการจัดการรับเสด็จพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ซึ่งเสด็จกลับจากภาคเหนือ มีข้อความที่แสดงให้เห็นถึงความไม่ชอบกันในพระราชสำนักฝ่ายในมีความตอนหนึ่งว่า...

"...ถ้าหากว่าเป็น(ข้อความถูกคัดออก)จะไม่พูดเลยเป็นอันขาด เพราะถ้าพูดขึ้นคงว่าบ้า หน้านิ่วคิ้วขมวดต่างๆ แต่นี่เป็นเจ้าพระยายมราช เห็นดีอย่างไรก็พูดกันตามตรง ทางดารานั้นเมื่อมาตามทางหัวเมือง ทุกๆเมืองเขาได้ต้อนรับได้บายศรีทำขวัญ แลมีการเล่นบางอย่างมาตามลำดับ แต่ครั้นเมื่อมาถึงพระนครจะหน้านิ่วกุดกันแจ ก็ไม่เห็นว่ามีประโยชน์อันใด เป็นแต่สะใจผู้คิดทำเช่นนั้น ได้ปลื้มครู่เดียว ถ้าใจไม่ขี้เกียจเสียถึงขนาด ก็จะออกรำคาญได้บ้าง เพราะฉนั้นในหัวเมืองมณฑลพระนครนี้ไม่มีที่แวะแห่งใด จะตรงมาขึ้นแพหน้าวัดราชาธิวาศที่เดียว ถ้าหากว่าเจ้าพระยายมราชมารับที่แพ จะตกแต่งแพด้วยใบไม้ใบไล่บ้างเล็กน้อยคงจะเป็นที่ชื่นชมยินดีเป็นอันมาก นับว่าเป็นการเสมอต้นเสมอปลายไม่ต้องมีงานมโหรสพอะไร เพราะชั่วแต่มาขึ้นท่าต้อนรับแล้วก็เข้าวังเท่านั้น หวังใจว่าเจ้าพระยายมราชจะไม่มีความรังเกียจในการที่ว่าเช่นนี้..." ซึ่งถ้าจะนำข้อความ ในพระราชหัตถเลขานี้มาประมวลเข้ากับคำปรารภที่พระราชชายา เจ้าดารารัศมีตรัสขณะประทับในพระบรมมหาราชวังเป็นคำเมืองว่า " ใคร่ปิ๊กบ้านวันละร้อยเตื้อ " แปลว่าอยากกลับบ้านวันละร้อยหน ก็น่าจะหมายถึงมีปัญหาที่ทำให้ไม่สบายพระทัยนัก

อีกเรื่องที่มีการซุบซิบเล่าลือในหมู่ชาววัง คือเรื่องพิธีแห่โสกันต์ สมเด็จเจ้าฟ้าสุทธาทิพย์ สุขุมขัติยกัลยาวดี กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร พระราชธิดาซึ่งประสูติแต่ สมเด็จพระนางเจ้าสุขุมารศรี พระอัครราชเทวี ทรงเป็นพระราชธิดาที่มีพระสิริโฉมงดงามเป็นที่โปรดปรานของพระราชบิดายิ่งนัก เมื่อครั้งโปรดให้โสกันต์นั้นปกตินั้นจะต้องมีพิธีแห่โสกันต์ในเวลาเย็น


แต่พิธีแห่ต้องเลื่อนไปจนค่ำ มีเรื่องเล่าเชิงลือกันว่า สาเหตุเป็นเพราะสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นพระนางเธอ เกิดประชวรปัจจุบันและบรรทมหนุนพระเพลาสมเด็จพระบรมราชสวามีไว้ทำให้พระองค์ไม่อาจเสด็จไปงานพิธีโสกันต์ตามกำหนดได้
ความอิจฉาริษยาเป็นเรื่องที่อยู่ในใจไม่มีใครหยั่งรู้ได้ จนกว่าจะมีพฤติกรรมบางอย่างที่บ่งบอก แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่อาจระบุได้ว่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นนั้น เกิดเพราะความอิจฉาริษยา เพราะอาจมีเหตุผลอื่นที่ทำให้ต้องปฏิบัติเช่นนั้น ดังเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นเนืองๆในพระราชสำนักฝ่ายใน เช่น

กรณีที่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ สั่งทำลาย เนกาตีฟ ภาพคู่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ ทรงอ้างความไม่เหมาะสมที่จะทรงฉายพระรูปคู่กับพระมเหสีองค์อื่น โดยเรื่องนี้เจ้าจอมสดับเล่าไว้ว่า"...พระวิมาดาเธอฯ ท่านทรงมีความสวามิภักดิ์ต่อเบื้องพระยุคลบาทต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างยิ่ง สิ่งใดที่เห็นว่าจะเป็นสิ่งที่เกิดความยุ่งยากพระราชหฤทัย ถ้าท่านอาจจะแก้ไขตัดสาเหตุอันนั้นได้ก็จะทรงกระทำทันที แม้การนั้นๆจะกลับเป็นเครื่องบีบคั้นพระทัยของพระองค์เองอย่างทารุณก็ตาม เช่นครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ทรงพระกรุณาชักชวนให้พระวิมาดาเธอฯ ฉายพระรูปคู่กับพระองค์ท่านทำให้เกิดความปิติปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณเป็นที่สุด เพราะเท่ากับว่าเป็นการแสดงให้เห็นถึงซึ่งพระราชหฤทัยว่า ทรงพระเมตตาและทรงยกย่องมาก แต่ครั้นเมื่อช่างได้ทำการฉายและจัด การฉายและจัดพิมพ์ส่งมาทูลเกล้าฯถวายแล้ว สมเด็จพระพันปีทอดพระเนตรเห็น ก็กราบบังคมทูลว่าไม่สมควรที่จะทรงฉายพระบรมฉายาลักษณ์คู่กับพระมเหสีอื่น ขอให้ทรงเรียกรูปที่พิมพ์แล้วพร้อมทั้งเนเคตีฟมาทำลายเสียให้หมด พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงพระราชดำริว่า การทำเช่นนั้นจะเป็นการบีบคั้นพระทัยพระ วิมาดาเธอฯเกินไปจึงนิ่งเสีย แต่เมื่อพระวิมาดาเธอฯทรงทราบ ก็ทรงพระดำริว่าถ้าไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามพระประสงค์ของสมเด็จพระพันปีหลวง เรื่องก็จะไม่ยุติลง คงจะเกิดร้าวฉานให้ร้อนถึงเบื้องพระยุคลบาท ดังนั้นแม้จะเป็นสิ่งที่ทรงปราถนาอย่างยิ่ง ที่จะเก็บไว้เป็นที่ระลึกเป็นที่ชิ่นชมในพระมหากรุณา แต่เมื่อเก็บไว้ก็จะทำให้พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงร้อนพระราชหฤทัย ท่านก็ตัดสินพระทัยเด็ดขาดถวายพระรูปคืน เพื่อให้ไปทำลายเสียตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระพันปี..."

บางเหตุการณ์ก็เกิดจากความอิจฉาริษยาโดยปิดเผยเช่นเรื่องที่ เจ้าหม่อมราชวงศ์สดับ ประสบมากับตัวเอง ว่าการที่ท่านเป็นเจ้าจอมคนโปรดนั้น คนรอบข้างมีความรู้สึกอย่างไร ปรากฎเรื่องนั้ในหนังสือศรุตานุสรณ์ ความว่า "....การที่ทรงซื้อเครื่องเพชรมาพระราชทานโปรดให้แต่งเครื่องเพชร แล้วให้ช่างชาวต่างประเทศมาถ่ายรูป โดยทรงพระกรุณาเป็นผู้จัดท่าพระราชทานเอง ตลอดจนทรงพระกรุณาพระราชทานตู้ของที่ระลึกและจัดของเข้าแต่งตั้งในตู้พระราชทานด้วยพระองค์เองเหล่านี้ ทำให้เจ้าจอมหลายท่านอิจฉาริษยา ถึงใช้วิธีส่อเสียดยุแหย่กล่าวหาในข้อร้ายหลายประการ จนทำให้เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับรู้สึกตัวว่ามีแต่ผู้หวังร้ายไม่มีผู้หวังดี ท่านได้บันทึกความรู้สึกตอนนี้ไว้ว่า '...เหลียวไปพบแต่ศัตรู คุณจอมนั้นว่าส่อเสียดอย่างนั้น คุณจอมนี้ว่าอย่างนี้ ตรองดูทีหรือ ข้าพเจ้าจะย่อยยับแค่ไหน...'

เรื่องที่ร้ายอย่างยิ่งก็คือ คุณจอมท่านหนึ่งกล่าวหาว่า ท่านไม่ซื่อตรงจงรักต่อเบื้องพระยุคลบาท กำลังติดต่อสัม พันธ์ทางชู้สาวกับชายอื่น ข้อหานี้ฉกรรจ์มากทำให้ผู้ถูกหาเป็นทุกข์อย่างหนักเกิดความวิตกกังวลไปต่างๆและที่วิตกมากก็คือกังวลไปว่าได้ทำเรื่องให้ขุ่นเคืองเบื้องพระยุคล บาทไว้หลายเรื่อง นับแต่ไม่เขียนหนังสือกราบบังคมทูลสนองพระราชหัตถเลขา และเรื่องอื่นๆเมื่อมากระทบเรื่องสำคัญดังนี้อีก เกรงจะทำให้สิ้นพระมหากรุณาขณะนั้นเจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับยังอายุน้อยขาดความสุขุม ก็เลยคิดสั้น คือคิดทำลายตนเองด้วยการดื่มน้ำยาล้างรูป

แต่ความใด้ทราบถึงเบื้องพระยุคลบาททันการ ได้เสด็จลงไปพระราชทานกำลังใจ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้แพทย์ประจำพระองค์ชาวต่างประเทศมารักษาช่วยชีวิตไว้ได้ทันท่วงที...ถึงกระนั้นก็ยังมีผู้กราบบังคมทูลยุยงอีกว่า "...ชีวิตตัวเองเขายังไม่รัก แล้วอย่างนี้เขาจะรักใครจริง..." แต่ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ก็เล่ากันว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงก็มิได้ทรงกล่าวว่ากระไร

แต่เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตแล้ว ยังคงมีเรื่องราวกล่าวขานกันในหมู่พระมเหสีเทวี เกี่ยวกับพระอารมณ์ ของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ซึ่งพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ทรงเล่าไว้ในหนังสือ เกิดวังปารุสก์ ว่า "....ในสมัยที่ข้าพเจ้าเป็นเด็ก และได้เข้าเฝ้าท่านเกือบทุกๆวัน เป็นสมัยที่ท่านไว้ทุกข์ทูลกระหม่อมปู่ และเมื่อเสด็จไปงานมงคล เช่นงานเฉลิมพระชนม์พรรษาทูลกระหม่อมลุง ท่านก็ยังทรงดำอยู่ดี แต่คนอื่นๆแต่งดำเมื่อไม่มีทุกข์ให้ใครแล้ว ข้าพเจ้าจำได้ว่า ย่าทรงกริ้ว จนท่านถูกคนอื่นเขาหาว่า ท่านอยากจะเป็นแม่หม้ายของพระจุลจอมเกล้าเสียแต่พระองค์เดียว..."

อย่างไรก็ตาม เมื่อเหตุการณ์ผ่านพ้นไป ทุกพระองค์ทุกคนต่างก็ลืมเลือนในสื่งที่ได้เคยล่วงล้ำก้ำเกินซึ่งกันและกัน และต่างก็ให้อภ้ยกันในที่สุด ดังเรื่องที่ หม่อมเจ้าหญิงมารยาตรกัญญา ดิสกุล ทรงเล่าไว้ว่า ".....ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ซึ่งประชวรกระเสาะกระแสะมาตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จสวรรคตประชวรมาขึ้น และเสด็จไปประทับอยู่ ณ พระที่นั่งวโรภาษพิมาน พระราชวังบางประอิน ครั้งหนึ่งสมเด็จพระศรีสวรินทืราบรมราชเทวีและพระนางเจ้าสุขุมารมารศรี พระราชเทวี ซึ่งล้วนแต่เป็นพระเจ้าลุกเธอในสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วยกัน และเป้นพระมเหสีเทวีใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงด้วย เสด็จขึ้นไปทรงเยี่ยมพระอาการประชวรในที่ท้องพระโรงหน้าพระที่นั่งวโรภาษพิมาน ทรงสนทนากันสามพระองค์พี่น้องถึงความหลังครั้งเก่า แล้วสมเด็จพระพันปีหลวงก็ทรงกราบลงที่พระบาทสมเด็จฯ ก่อนที่ใครๆจะรู้สึกพระองค์ เป็นนัยว่าทรงขอพระราชทานอภัยในความหลังดั้งเดิมทั้งหมด ฝ่ายพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี เมื่อทอดพระเนตรเห็นดังนั้นก็ทรงเบี่ยงพระองค์ชักพระบาทหลบ เห็นจะด้วยทรงเกรงว่าสมเด็จพระพันปีจะกราบมาถึงท่านอีกพระองค์หนึ่ง เสร็จจากทรงกราบที่พระบาทสมเด็จฯแล้ว สมเด็จพระพันปีก็ทรงคลานอ้อมมานิดหนึ่ง พอที่จะกราบลงที่พระบาทพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรีได้ แล้วก็ทรงกราบลงพร้อมๆกับที่ทรงพระกันแสงกันทั้งสามพระองค์ ทำให้ข้าหลวงแถวๆนั้นอดกลั้นน้ำตามิได้ไปตามๆกัน..."


นอกจากความอิจฉาริษยา แข่งขันชิงดีชิงเด่นชิงความรักความเป็นใหญ่ระหว่างกันแล้ว สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งที่ชาววังระวังและปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดที่สุดก็คือ การรักษาสถานภาพการเป็นคนโปรดหรือที่เรียกว่า "ขึ้น" เพราะเวลา"ขึ้น" นั้นจะมีทั้งอำนาจวาสนาทรัพย์สินเงินทอง ผู้คนต่างพากันเข้ามาสวามิภักดิ์ยอมตัวอยู่ในพระบารมี เวลาที่ไม่โปรดปรานเรียกว่า "ตก" สิ่งต่างๆประดาที่เคยมีก็พลันสูญเสียไป ความรู้สึกของผู้ที่อยู่ในสภาพนี้ ก็คือความรู้สึกของปถุชนคนทั่วไป คือมีทั้งความเสียใจเสียดาย ถึงสื่งดีๆที่ผ่านไป เว้นแต่ผุ้ที่มีสติสัมปชัญญะกำกับกายใจอยู่จึงจะพ้นภาวะและความรู้สึกเช่นนั้น

สมเด็จพระศรสวรินทิราบรมราชเทวี ทรงเป็นเจ้านายพระองค์หนึ่งที่ทรงประสบกับภาวะการณ์ "ขึ้น" และ "ตก" อันเนื่องมาจากการที่สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ พระราชโอรสทรงดำรงตำแหน่ง "สยามมกุฎราชกุมาร" จึง "ขึ้น" ในฐานะที่ทรงเป็น พระราชมารดาองค์รัชทายาท และทรง "ตก" เพราะสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศทรงสิ้นพระชนม์ ฐานะพระราชมารดาองค์รัชทายาทจึงเปลี่ยนไปอยู่ที่สมเด็จพระศรีพัชริรทรา พระวรราชเทวีแทน

สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี ทรงกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า "...ฉันน่ะไม่เคยขี้เหนียวหรอก แต่เห็นเสียแล้วเมื่อเวลาฉันมีบุญน่ะ ล้วนแต่มาห้อมล้อมฉันทั้งนั้นแหล่ะ เวลามีงานมีการอะไร ฉันก็ช่วยเต็มที่ไม่ขัด แต่พอฉันตกก็หันหนีหมด ไปเข้าตามผู้มีบุญต่อไป ฉะนั้นฉันจึงตัดสินใจไม่ทำบุญกับคนรู้จัก แต่จะทำการกุศลทั่วไปไม่เลือก..."

แต่การ "ตก" ชนิดไม่เป็นที่โปรดปรานเป็นสิ่งที่ชาววังหวาดกลัวเป็นอย่างยิ่ง ไม่ประสงค์จะให้เกิดกับตนเอง การ"ตก" เช่นนี้มีหลายปัจจัย เช่น เนื่องมาจากไม่มีพระราชโอรสพระราชธิดาไว้เป็นที่ผูกพันพระราชหฤทัย หรือมีอายุมาก หรือมีความประพฤติปฏิบัติตนไม่ต้องพระราชอัธยาศัย หรือเพราะเหตุผลอื่นๆ สตรีเหล่านี้แม้จะได้ชื่อว่าเป็นเจ้าจอม ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดเงินปี มีเรือนให้พักอาศัย แต่ก็มิได้มีตำแหน่งหรือหน้าที่อื่นใดในการที่จะมีโอกาสเข้าเฝ้าใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท จะเข้าเฝ้าก็เฉพาะตามหน้าที่ข้าทูลละอองธุลีพระบาทธรรมดา ในเวลาเสด็จพระราชดำเนินเข้าออกเช้าเย็น ณ ห้องโถงซึ่งมีพระทวารเปิดออกไปยังอัฒจรรย์สำหรับเสด็จออกฝ่ายหน้า ห้องดังกล่าวมีฝาผนัง และเครื่องตกแต่งภายในปิดทองออกสีเหลืองจึงเรียกกันเป็นสามัญว่า "ห้องเหลือง" และเลยเรียกเจ้าจอมที่หมอบเฝ้าประจำอยู่ห้องนี้ว่า "เจ้าจอมห้องเหลือง" คำว่า "เจ้าจอมห้องเหลือง"จึงเป็นสมญาที่มีนัยแห่งความดูถูก เยาะเย้ย สงสารและสมเพชแฝงอยู่ ซึ่งเจ้าจอมทุกคนประจักษ์ในนัยนี้เป็นอย่างดี จึงไม่มีผู้ใดประสงค์จะอยู่ในสภาพเช่น

สตรีที่อยู่ในพระราชสำนักฝ่ายในนั้น แม้จะอยู่ในฐานะที่แตกต่างจากคนธรรมดาสามัญ แต่โดยเนื้อแท้แล้วก็เป็นเพียงผู้หญิงที่มีชีวิตจิตใจ เช่นบุคคลทั่วไปที่รู้จักรัก หีงหวง เสียใจ ฯลฯ แต่ก็มีความสามารถเป็นพิเศษในการ อดทนอดกลั้น ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากการได้รับการอบ รมมาเป็นอย่างดี และความจงรักภักดีต่อองค์พระประมุข มิต้องการให้มีสิ่งใดมาระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท เหตุ การณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในพระราชสำนักฝ่ายในจึงไม่รุนแรงนัก.


การแสดงบารมีในราชสำนักฝ่ายใน สมัยรัชกาลที่ 5
ราชสำนักฝ่ายใน ... ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัวนั้น มีผู้นิยมวิ่งเต้นส่งบุตรหลานเข้าไปถวายตัวเป็นข้าหลวงในวังมากเป็นจำนวนมาก ผู้ใดมีช่องทางคุ้นเคยรักใคร่กับใคร ก็ช่วยชักนำกันถวายตัวเป็นข้าหลวงของบรรดาเจ้านายพระบรมวงศ์ พระมเหสี หรือเจ้าจอมชั้นผู้ใหญ่ เพื่อที่จะมีโอกาสได้รับการฝึกฝนขนบธรรมเนียม จรรยามารยาท และวิชาการชั้นสูงต่างๆ สำหรับกุลสตรี ในขณะเดียวกันก็อาจเป็นโอกาสอันดีในการแสวงหาโชควาสนา ที่จะได้ถวายตัวรับราชการเป็นข้าหลวงพนักงาน หรือจนกระทั่งอาจได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้รับไว้เป็นข้าบาทบริจาริกา
การที่บรรดาพระบรมวงศ์ พระภรรยาเจ้าและพระภรรยามีบริวารในสังกัดเป็นจำนวนมากนี้ จึงเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ในสังคมไทย ตลอดจนการแสดงถึงอำนาจบารมีของเจ้านายในแต่ละสำนัก ทั้งยังช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างเจ้านายผู้เป็นเจ้าสำนักกับองค์พระมหากษัตริย์ ในกรณีที่ผู้เข้ามาถวายตัวเป็นข้าในสำนักนั้นเกิดเป็นที่โปรดปราน จนได้เป็นบาทบริจาริกา ซึ่งส่วนใหญ่แล้วสตรีที่เข้ามาสู่บารมีของเจ้านายในแต่ละสำนักนั้นมักเป็นญาติ หรือญาติของผู้พำนักอยู่ในสำนักนั้น หรือขุนนางที่เจ้าสำนักคุ้นเคยหรือไว้วางใจ
ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระภรรยาเจ้า และพระภรรยามากขึ้น โดยพระภรรยาเจ้า และพระภรรยาที่จะมีสำนักเป็นของตนเองได้นั้น ต้องอาศัยคุณสมบัติหลายประการ เช่น ด้านชาติตระกูล มีพระราชโอรสหรือพระราชธิดาเป็นที่โปรดปราน หรือได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณจนเป็นที่โปรดปราน เป็นต้น สำนักที่มีบทบาทสำคัญได้แก่

สำนักของ “สมเด็จพระตำหนัก” หรือสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี สมเด็จพระอัครมเหสีพระองค์ที่ 2 ทรงเป็นพระราชชนนีในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร โดยทรงมีเจ้าจอมอยู่ในสำนักของพระองค์ท่านหลายคนด้วยกัน เช่น เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง สนิทวงศ์ เจ้าจอมมารดาพร้อม เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์ข้อ สนิทวงศ์ เจ้าจอมถนอม และเจ้าจอมเรียม เป็นต้น ส่วนข้าหลวงในสำนักนั้นมักเป็นสมาชิกจากตระกูลที่ใกล้ชิด โดยเฉพาะตระกูลสุจริตกุล และตระกูลชูโต

สำนักของ “สมเด็จที่บน” หรือสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ มีที่ประทับ ณ พระที่นั่งศรีสุทธาอภิรมย์ อันเป็นส่วนหนึ่งของ “ที่บน” หรือ “หมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท” ทรงเป็นพระราชชนนีในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร (รัชกาลที่ 6) จึงนับได้ว่าสำนักของพระองค์เป็นสำนักที่รุ่งเรืองมากที่สุดในหมู่พระภรรยาเจ้า เนื่องจากทรงเป็นพระเจ้าลูกเธอรุ่นเล็กของรัชกาลที่ 4 จึงมีพระเจ้าลูกเธอพี่นางน้องนางที่มีวัยรุ่นเดียวกันเป็นที่สนิทชิดชอบ และเจริญพระชันษาขึ้นมาด้วยกันหลายพระองค์ และต่อมาเมื่อทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระอัครมเหสี มีพระราชโอรสเป็นหลักในการสืบราชสันตติวงศ์ จึงทำให้มีเจ้านายที่ทรงรักใคร่ต้องพระอัธยาศัยกันมาถวายความจงรักภักดีในสำนักของสมเด็จที่บนหลายพระองค์ด้วยกัน เช่น พระองค์เจ้าศรีนาคสวาสดิ์ พระองค์เจ้าแขไขดวง พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์ และพระองค์เจ้านารีรัตนา เป็นต้น นอกจากนี้ยังทรงมีเจ้าจอมหม่อมราชวงศ์แป้น เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์ปั้ม เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์แป้ม เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์แป้ว แห่งราชสกุลมาลากุล เป็นข้าหลวงคนสนิทที่ทรงโปรดปรานไว้วางพระราชหฤทัยให้เป็นนางสนองพระโอษฐ์ มีอำนาจว่ากล่าวดูแลคนทั้งปวงโดยสิทธิ์ขาด อีกทั้งยังทรงมีเจ้าจอมมารดาเลื่อน เจ้าจอมมารดาแส เจ้าจอมอ้น เจ้าจอมศรีพรหมา ธิดาเจ้าผู้ครองนครน่าน อยู่ในสังกัดสำนักสมเด็จที่บนอีกด้วย

สำนัก "พระนางเจ้าพระราชเทวี" ของพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี ทรงมีข้าหลวงในสำนักเป็นสตรีจากตระกูลบุนนาค เพราะทรงมีศักดิ์เป็นหลานตาของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัด บุนนาค) อีกทั้งยังมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสำนักของเจ้าคุณจอมมารดาแพ ในฐานะญาติสายสกุลบุนนาค ซึ่งต่อมากลุ่มเจ้าจอม “ก๊กออ” ที่สังกัดอยู่กับเจ้าคุณจอมมารดาแพ ได้มาถวายงานใกล้ชิดร่วมกับพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี ภายหลังจากที่เจ้าคุณจอมมารดาแพเปลื้องหน้าที่ตามวัยวุฒิ

สำนักของ “ท่านองค์เล็ก” หรือพระอัครชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ เรียกว่า “ก๊กพระวิมาดา” “ก๊กท่านองค์เล็ก” หรือ “พวกท่านองค์เล็ก” เจ้าจอมและนางข้าหลวงส่วนใหญ่มักสืบสายราชสกุลมาจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เช่น ราชสกุลลดาวัลย์, สิงหรา นอกจากฝึกหัดอบรมคุณสมบัติกุลสตรีแล้ว สำนักของพระอัครชายายังมีโรงเลี้ยงเด็กด้วย


สำนัก “ตำหนักเจ้าลาว” ของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี มีลักษณะเป็นเอกเทศ ดำรงลักษณะเอกลักษณ์ของชาวเหนือเอาไว้ เช่น ไว้ผมยาว เกล้ามวย นุ่งซิ่น และเมื่ออยู่ในตำหนักจะพูดจาภาษาเหนือเสมอ โดยแต่เดิมพระราชชายาเจ้าดารารัศมีนั้นทรงอยู่ในสังกัดของสำนักสมเด็จที่บน ต่อมาเมื่อได้ทรงเป็นพระมเหสีแล้ว พระราชชายาจึงได้ทรงรับเอาพระญาติวงศ์และข้าราชบริพารจากเมืองเชียงใหม่เข้ามาอยู่ด้วยจนเกิดเป็นสำนักตำหนักเจ้าลาวขึ้น กล่าวกันว่าผู้ที่มาอยู่ในตำหนักพระราชชายานั้น นอกจากจะงามพิศและพูดเพราะแล้ว ดูเหมือนจะมีศิลปะในด้านการขับร้อง ฟ้อนรำ และดนตรีไทยแทบทั้งนั้น

สำนัก “คุณจอมแพ” หรือ “ท่านที่ตำหนัก” ของเจ้าคุณจอมมารดาแพ เป็นพระภรรยาที่มีฐานะเป็นสะใภ้หลวง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประดิพัทธิ์ และพระราชทานเกียรติยศให้มาก โดยภายในสำนักของท่านนั้นมักเป็นสตรีที่มาจากสายสกุลบุนนาค ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) เช่น เจ้าจอมมารดาโหมด เจ้าจอมมารดอ่อน เจ้าจอมเอี่ยม เจ้าจอมเอิบ เจ้าจอมอาบ เจ้าจอมเอื้อม เป็นต้น
ไม่มีบทความ
ไม่มีบทความ